SLider section

ไส้อั่ว

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ไส้อั่ว

 

ความเป็นมา

ไส้อั่ว เป็นวิธีการถนอมอาหารให้สามารถรับประทานได้นานขึ้นคำว่า อั่ว หมายถึง แทรก หรือยัดไว้ตรงกลาง ไส้อั่ว จึงหมายถึงไส้ที่มีการยัดไว้ตรงกลางซึ่งก็คือเนื้อสัตว์ต่างๆนั่นเอง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ไส้อั่วมีโปรตีนจากเนื้อสัตว์ อีกทั้งเครื่องปรุงยังมีคุณค่าทางโภชนาการ เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 

ส่วนผสม

เนื้อหมูบดติดมัน                   1        กิโลกรัม

ใบมะกรูดหั่นฝอย                  3        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอม ผักชี หั่นฝอย            2        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                    2        ช้อนโต๊ะ

ไส้อ่อนหมู                              1/2     กิโลกรัม

ส่วนผสมน้ำพริกแกง

พริกแห้ง                            8        เม็ด

เกลือป่น                            1        ช้อนชา

ข่าซอย                              2        ช้อนชา

ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอย                      60      กรัม

กระเทียมซอย                     3        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                   1        ช้อนชา

รากผักชี                            2        ช้อนชา

ขมิ้นผง                             1/2     ช้อนชา

วิธีทำ

ปั่นหรือบดเครื่องพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูบด ใบมะกรูด ต้นหอม ผักชี ปรุงรสด้วยน้ำมา นวดและคลุกเคล้าจนเข้ากันดี นำไปยัดลงในไส้อ่อนหมูมัดหัวท้ายให้แน่น ก่อนนำไปนึ่งในลังถึงประมาณ 20 นาทีจึงเอามาย่างบนไฟอ่อน หรือทอดในน้ำมันจนสุก

 

 

ภาค อีสาน

น้ำตกหมู

ความเป็นมา น้ำตก มีลักษณะเหมือนกับลาบทุกประการ ต่างกันเพียงแค่ไม่ใช้เนื้อสับแต่จะใช้เนื้อย่างหั่นเป็นชิ้น ๆ แทน โดยมากนิยมใช้เนื้อหมูย่างหรือเนื้อวัวย่าง   คุณค่าทางโภชนาการ นอกจากโปรตีนจากเนื้อหมู ส่วนผสมของน้ำตกยังมีสรรพคุณที่หลากหลาย เช่น หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ ผักชีฝรั่ง ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตา คลายเครียด ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม เนื้อหมูส่วนสันคอ                 350    กรัม หอมแดงซอย                      20      กรัม ต้นหอมซอย                       1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                 1        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                      10      กรัม ข้าวคั่วป่น                          2        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                             1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                          2        ช้อนโต๊ะ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

หมูสะเต๊ะ

ความเป็นมา หมูสะเต๊ะ เป็นอาหารปิ้งย่างที่คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนื้อสะเต๊ะ แต่ในประเทศไทยที่มีคนจีนมากและไม่นิยมกินเนื้อวัวจึงเปลี่ยนเป็นเนื้อหมู ส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อก็ยังมีลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้นหรือผงกะหรี่  และร้านขายหมูสะเต๊ะอร่อยๆ มักเป็นคนจีน หมูสะเต๊ะเป็นของว่างที่กินได้ตลอดวัน และนิยมสั่งกินก่อนอาหารมื้อหนัก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีวิตามินบี 12 และอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุต่างๆ มีโปรตีนที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสะเต๊ะจะอร่อยเมื่อมีมันหมูติดไปด้วยเล็กน้อย เพราะจะทำให้เนื้อนุ่มและไม่กระด้าง แต่ควรระวังไม่กินมันหมูมากเกินไปเพราะร่างกายอาจจะรับไขมันเกินความจำเป็น   ส่วนผสม เนื้อหมูสันนอกหั่นเป็นชิ้นยาวกว้าง      1        กก. กะทิ                                          1        ถ้วย   เครื่องสำหรับหมักหมู ลูกผักชีป่น 1 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่าป่น 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ หมักหมูและเสียบไม้พักไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นำหมูสะเต๊ะย่างไฟ ขณะย่างพรมกะทิไปด้วยเพื่อไม่ให้แห้ง พอสุกใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มและอาจาด   ส่วนผสมน้ำจิ้มและวิธีทำ กะทิ 3 ถ้วย น้ำพริกแกง ½ ถ้วย ถั่วลิงสงโขลกละเอียด 1/3 ถ้วย น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวกะทิให้พอแตกมัน ใส่น้ำพริกลงไปผัดจนหอม ใส่ถั่วลิสง น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มมะขาม เคี่ยวต่อจนข้น ชิมรส ส่วนผสมอาจาดและวิธีทำ น้ำส้มสายชู 1/3 ถ้วย น้ำตาลทราย ½ ถ้วย เกลือป่น 2 ช้อนชา แตงกวาผ่าสี่หั่น 2 ลูก หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ พริกชี้ฟ้าหั่นขวาง ½ เม็ด ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟ พอทุกอย่างละลายยกลง พักไว้ให้เย็น จัดแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้าใส่ชาม ราดน้ำอาจาด


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ยำไตปลา

    ความเป็นมา ยำไตปลาเป็นการนำไตปลาซึ่งเป็นของหมักดองมาปรุงอาหารให้อร่อยอีกเมนูหนึ่งซึ่งโดยทั่วไปคนนิยมนำไปทำแกงไตปลา แต่ยำจานนี้เป็นยำไตปลาที่ใส่กะทิให้มีรสมัน มีกลิ่นหอมจากสมุนไพรสดต่างๆ ที่ซอยใส่รวมไปกับเนื้อปลา และมีรสชาติเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน อร่อยอย่างยำทั่วไป   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองจากพุงปลา กระเพาะปลาที่มีโปรตีนสูง ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนจากเนื้อปลาย่างที่ใส่รวมไปด้วย ไขมันจากกะทิ และกลิ่นรสสดชื่นที่ทำให้หายใจได้โล่งโปร่งสบายจากสมุนไพรสด เช่น พริก หอม ข่า ตะไคร้ เป็นต้น   ส่วนผสม ไตปลา                                        200    กรัม ข่า ตะไคร้ ขมิ้น บุบ  ใบมะกรูด 4-5 ใบ สำหรับต้มไตปลา หัวกะทิ                                           1        ถ้วย ตะไคร้ซอยบาง                              ½       ถ้วย หอมแดงซอยบาง                           ½       ถ้วย ข่าซอยเป็นเส้น                                1        ช้อนโต๊ะ กระชายซอยเป็นเส้น                        ¼       ถ้วย พริกขี้หนูซอย                                    5        กรัม ใบมะกรูดซอย                                    5        ใบ น้ำมะนาว                                              2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                                     2        ช้อนโต๊ะ เนื้อปลาทูย่างหรือเนื้อปลาโอย่าง        80      กรัม วิธีทำ ต้มไตปลากับข่า ตะไคร้ ขมิ้น ใบมะกรูด ต้มจนเดือด กรองไตปลา พักไว้แบ่งไตปลาที่ต้มไว้ประมาณ  3-4 ช้อนโต๊ะมาต้มกับกะทิ พอเดือดใส่เนื้อปลา ยกลงปรุงรสด้วยน้ำมะนาว น้ำตาล ใส่สมุนไพร และเนื้อปลาที่เตรียมไว้ทั้งหมด คลุกให้เข้ากัน ชิมรส กินกับผักสดต่างๆ      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire