SLider section

แกงแคปลา

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงแคปลา

ความเป็นมา

แกงแค เป็นแกงที่มีผักหลายชนิด คล้ายต้มจับฉ่ายของชาวจีน ผักที่เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนใหญ่ประกอบด้วย ตำลึง ชะอม ใบชะพลู ผักชีฝรั่ง มะเขือพวง และดอกแค

 

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงแคจะมีเกลือแร่และวิตามินจากผักต่างๆที่ใส่ลงไป เช่นแคลเซียมที่ได้จากใบชะพลูช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน  ผักกวางตุ้งช่วยในการขับถ่าย ถ่ายสะดวก ป้องกันโรคท้องผูก ชะอมช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีวิตามินเอสูง ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้

 

ส่วนผสม

ปลาช่อนหั่นท่อน                  400    กรัม

ถั่วฝักยาว                          200    กรัม

ชะอม                               80      กรัม

ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                 20      กรัม

ใบชะพลู                            10      กรัม

มะเขือเปราะ                      50      กรัม

ผักกวางตุ้ง                         100    กรัม

ยอดตำลึง                          80      กรัม

น้ำปลา                             2        ช้อนโต๊ะ

น้ำเปล่า                            3        ถ้วยตวง

น้ำมันพืช สำหรับผัด

ส่วนผสมน้ำแกง

พริกแห้ง                            10      เม็ด

เกลือป่น                            1        ช้อนชา

ข่าซอย                              1        ช้อนชา

ตะไคร้ซอย                         2        ช้อนโต๊ะ

กระเทียม                           1        ช้อนโต๊ะ

หอมแดง                            2        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                   2        ช้อนชา

ปลาร้าสับ                          1        ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ปั่นหรือตำส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่น้ำตั้งไฟต่อจนเดือด ใส่ปลาช่อนลงไปต้มในน้ำแกงจนสุกดี จากนั้นปรุงรส ใส่ผักต่างๆ ต้มจนผักสุกนุ่ม ตตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค อีสาน

ข้าวเม่าคลุกมะพร้าว

  ความเป็นมา ข้าวเม่า คือข้าวที่ได้มาจากรวงข้าวสีเขียวที่ยังไม่แก่จัด เนื่องจากในภาคอีสานนิยมปลูกข้าวกันมาก จึงหาข้าวเม่ารับประทานได้ไม่ยาก และมีการนำข้าวเม่ามาประกอบอาหารหลากหลาย อีกทั้งยังทำเป็นขนมและของว่างได้อีกด้วย   คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวเม่ามีโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ เช่นแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม และไอโอดีน   ส่วนผสม ข้าวเม่าข้าวเหนียว               100    กรัม น้ำตาลทราย                        50      กรัม มะพร้าวขูดแล้วนึ่งสุก            1        ถ้วยตวง เกลือ                                      1/4     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                               2        ถ้วยตวง   วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาดให้เดือด ใส่เกลือคนจนเกลือละลายดี ยกลง ทิ้งไว้ให้เย็นนำน้ำเกลือไปพรมใส่ข้าวเม่าทีละนิดและคลุกจนข้าวเม่านิ่ม จากนั้นจึงใส่มะพร้าวขูดลงไปคลุกให้เข้ากันตักข้าวเม่าคลุกใส่จาน โรยหน้าด้วยมะพร้าว และน้ำตาล    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แหนมหมก

    ความเป็นมา แหนม ทำมาจากเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว แต่ในปัจจุบันนิยมใช้เนื้อหมู บางท้องถิ่นในภาคเหนือเรียก หมูส้ม และจิ๊นส้มหมก เมื่อจะรับประทานหากนำมาย่างไปจะยิ่งเพิ่มรสชาติให้อร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีโปรตีน ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ มีธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง   ส่วนผสม เนื้อหมูบด                1        กิโลกรัม หนังหมู                    100    กรัม กระเทียม                  20      กรัม เกลือ                          1        ช้อนโต๊ะ ข้าวนึ่ง                        1        ถ้วย วิธีทำ โขลกกระเทียมและเกลือให้พอละเอียด นำมาคลุกเคล้ากับหมูบดใส่ข้าวนึ่ง หนังหมูลงคลุกเคล้าให้เข้ากันเตรียมใบตองซ้อนกัน 4 แผ่น นำส่วนผสมที่ได้ใส่ใบตอง ห่อให้แน่น ใช้ไม้กลัดกลัดให้สนิท พักทิ้งไว้ 2-3 วัน นำห่อแหนมย่างไฟอ่อนๆ ให้สุกทั่วก่อนรับประทาน      


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

น้ำพริกข่า

    ความเป็นมา น้ำพริกข่า เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะค่อนข้างแห้งอีกชนิดหนึ่ง ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน ทานคู่กับเนื้อสัตว์ตากแห้ง ข้าวเหนียว และผักสด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่ามีสรรพคุณช่วยย่อย ช่วยขับลม แก้จุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้ไอ แก้หวัด ลดน้ำมูก แก้หอบหืด ข่าช่วยลดอาการปวด ไม่ว่าจะแก้ปวดเมื่อยตามตัว ปวดข้อ ปวดฟัน   ส่วนผสม พริกขี้หนูแห้ง          20      เม็ด กระเทียม                 20      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                      ¼       ช้อนชา วิธีทำ โขลกเกลือ กระเทียม และข่า รวมกันให้ละเอียดใส่พริกขี้หนูแห้งย่างไฟ ลงโขลกรวมกันจนละเอียดตักขึ้น ทานคู่กับเนื้อแห้ง ข้าวเหนียว ผักสด      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire