SLider section

แกงเผ็ดเห็ดแครง

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงเผ็ดเห็ดแครง

ความเป็นมา

แกงเผ็ดเป็นแกงที่ชาวบ้านทำกินกันทั่วไป และส่วนผสมก็มีได้หลากหลาย ส่วนใหญ่จะมีทั้งผักใบและผักหัวกับเนื้อสัตว์ เช่นไก่ กุ้ง แกงเผ็ดเห็ดแครงก็เป็นอีกเมนูที่นำเห็ดท้องถิ่นอย่างเห็ดแครงที่จะมีมากในฤดูฝน และขึ้นตามขอนต้นยางพาราที่ตัดทิ้งไว้มาแกงกับกะทิและใส่กุ้ง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

เห็ดแครงเป็นเห็ดพื้นบ้านที่หาได้เฉพาะทางใต้เท่านั้น ดอกเล็กรูปร่างคล้ายพัด ไม่มีก้านดอก คล้ายเปลือกหอยแครง สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน ก่อนนำมาทำอาหารต้องแช่น้ำให้นิ่มและบานก่อน เนื้อจะกรอบอร่อย นิยมนำมาแกงใส่กะทิ เห็ดแครงมีคาร์โบไฮเดรทและโปรตีนสูง ยังมีคุณสมบัติเป็นยาที่ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสได้

 

ส่วนผสม

เห็ดแครง                           150    กรัม

กุ้ง                                      150    กรัม

หัวกะทิ                               1        ถ้วย

น้ำพริกแกงเผ็ด                  2        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ

เกลือเล็กน้อย

วิธีทำ

ผัดพริกแกงกับกะทิพอหอม ใส่กะปิ กุ้ง พอเดือดใส่เห็ดแครง ผัดประมาณ 10 นาที จนเห็ดแครงสุก

 

 

ภาค ใต้

แกงคั่วกระดูกหมูอ่อน

ความเป็นมา           กระดูกหมูอ่อนเป็นเนื้อส่วนซี่โครงที่ติดกระดูกอ่อน เวลาเคี้ยวจะกรุบกรับ นุ่ม ยิ่งเคี้ยวยิ่งอร่อย ซึ่งคนนิยมนำมาทำอาหารทั้งทอด ต้ม แกง เมนูนี้นำมาแกงใส่น้ำพริกแกงใต้ที่มีรสเผ็ดร้อน เข้มข้น เป็นจานอร่อยอย่างอาหารใต้อีกจาน   คุณค่าทางโภชนาการ           กระดูกหมูให้โปรตีนเหมือนกับเนื้อหมู แต่มีไขมันมากกว่าส่วนเนื้อเพราะมีไขมันแทรกอยู่ เนื้อจึงนุ่ม น้ำพริกแกงใต้มีส่วนผสมของขมิ้นที่ช่วยรักษาโรคท้องอืดและช่วยย่อยอาหาร สมุนไพร เช่น พริก ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหย ช่วยแก้วิงเวียนศีรษะได้อย่างดี   ส่วนผสม กระดูกหมูอ่อนสับเป็นชิ้น                350    กรัม น้ำพริกแกงใต้                                 ¼       ถ้วย ใบมะกรูดหั่นฝอย                             5        ใบ น้ำมันพืช                                           2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                               3        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                                      1        ช้อนชา น้ำ   วิธีทำ ผัดน้ำพริกแกงกับน้ำมันพอหอม ใส่กระดูกหมูผัดรวมกับพริกแกงสักครู่ ค่อยๆ เติมน้ำ เคี่ยวด้วยไฟอ่อนจนกระดูกหมูนุ่มน้ำขลุกขลิก ปรุงรส ใส่ใบมะกรูดซอย รับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงอ่อมหมู

ความเป็นมา แกงอ่อมหมูของทางภาคเหนือ จะแตกต่างจากแกงอ่อมในภาคอีสาน เพราะมีพริกแกงที่รสชาติจัดจ้านกว่า สมัยก่อนแกงอ่อมของชาวล้านนาจะเป็นอาหารที่นิยมทานกันในช่วงเวลาที่สำคัญๆท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ เครื่องแกงของแกงอ่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ            200    กรัม ข่าอ่อนซอย                                   10      กรัม ตะไคร้ซอย                                    15      กรัม ใบมะกรูด                                        4        ใบ รากผักชี                                         10      กรัม ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ผักชีซอย                                        1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืชสำหรับผัด ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                                     7        เม็ด หอมแดง                                     30      กรัม กระเทียม                                    15      กรัม ข่าซอย                                       1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ รากผักชีซอย                                1        ช้อนชา กะปิ                                             1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูลงไปผัดจนหมูเริ่มสุก ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำลงให้พอท่วมเนื้อหมู เคี่ยวต่อจนเนื้อนุ่ม ใส่ใบมะกรูด และผักชีฝรั่ง ตั้งไฟจนเดือด ยกลง ตักเสิร์ฟพร้อมโรยด้วยต้นหอม ผักชี    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ขนมกล้วย

    ความเป็นมา ขนมกล้วย หรือเข้าหนมกล้วย เป็นขนมซึ่งชาวล้านนานิยมทำรับประทาน โดยใช้แป้งข้าวเจ้าและกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนผสมหลัก   คุณค่าทางโภชนาการ กล้วยน้ำว้าช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี   ส่วนผสม กล้วยน้ำว้าสุก           500    กรัม น้ำตาลทราย             500    กรัม แป้งข้าวเจ้า              300    กรัม แป้งมัน                      100    กรัม มะพร้าวขูด                 1        ถ้วย กะทิ                             3        ถ้วย เกลือป่น                      1        ช้อนชา   วิธีทำ นำกล้วยน้ำว้า แป้งข้าวเจ้า กะทิ ใส่ลงในอ่างผสม ขยำกล้วยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำตาลทราย แล้วนวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลายฉีกใบตอง ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตองตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็ม วางกรวยขนมในรูของลังถึง โรยมะพร้าวขูด นึ่งไฟกลาง ประมาณ 20 นาที    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire