SLider section

แกงเผ็ดปลาทรายใบรา

ภาค ใต้

  • recipe image cover

แกงเผ็ดปลาทรายใบรา

ความเป็นมา

แกงน้ำใสที่มีรสเผ็ดร้อนจากพริกแกง และใบรา หรือใบยี่หร่าที่มีรสเผ็ดหอม ร้อนแรง แกงนี้เป็นแกงพื้นบ้านที่ทำไม่ยาก ใช้ของที่มีอยู่มากอย่างปลาทราย และสมุนไพรที่หาได้ง่ายในภูมิภาค มาทำเป็นแกงรสอร่อยซึ่งกินกันทั่วไป 

คุณค่าทางโภชนาการ

แกงน้ำใสที่มีรสร้อนแรงจากทั้งสมุนไพรและใบยี่หร่า ซึ่งช่วยให้สดชื่น รู้สึกโล่งโปร่งสบาย

ช่วยขับลมท้อง เป็นจานสุขภาพที่ได้โปรตีนดีจากเนื้อปลา และไม่มีไขมัน คนที่มีปัญหาเรื่อง คอเลสเตอรอลจึงกินได้อย่างสบายใจ

 

ส่วนผสม

ปลาทรายตัวใหญ่          700 กรัม

พริกแกง                        ¼    ถ้วย

ใบรา หรือใบยี่หร่า        ½    ถ้วย

น้ำสะอาด                      3     ถ้วย

ข่าอ่อนหั่นแว่น              20   กรัม

พริกไทยอ่อน                15   กรัม

ใบมะกรูด                      3     ใบ

พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบสำหรับโรยหน้า

ส่วนผสมพริกแกง พริกสด 15 กรัม ข่าหั่นแว่น 5 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้ว  หอมแดง 40 กรัม กระเทียม 10 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา ตำทุกอย่างให้เข้ากันและละเอียด

 

วิธีทำ

นำน้ำสะอาดตั้งไฟจนเดือด จากนั้นใส่พริกแกง ข่าอ่อน รอจนเดือดอีกครั้ง ใส่ปลาทราย ต้มต่อจนกระทั่งปลาสุก ใส่พริกไทยอ่อน ใบรา ใบมะกรูด ยกลง โรยพริกชี้ฟ้า

ภาค ใต้

ผัดเผ็ดหมูป่าพริกไทยอ่อน

    ความเป็นมา หมูป่าจะมีเนื้อและหนังที่เหนียวกว่าหมูเลี้ยงทั่วไป ทำให้เคี้ยวได้อร่อย และมักจะมีในต่างจังหวัดที่ยังมีพื้นที่และสามารถเลี้ยงหมูได้ตามธรรมชาติ การนำมาผัดพริกแกงจะทำให้ดับกลิ่นสาบของเนื้อและยังมีรสชาติเข้มข้นอร่อยตามตำรับใต้ที่ชอบกินอาหารรสเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ หมูป่ามีสารอาหารเหมือนเนื้อหมูทั่วไป เนื้อหมู 100 กรัมมีโปรตีน 33.5 กรัม และให้พลังงาน 171 กิโลแคลอรี น้ำพริกแกงใต้มีสมุนไพรที่ทำให้ช่วยย่อย เช่นเดียวกับพริกไทยอ่อนที่นอกจากรสเผ็ดหอมสดชื่นแล้ว ยังช่วยให้เลือดลมหมุนเวียนได้ดีด้วย   ส่วนผสม เนื้อหมูป่า                          300    กรัม น้ำพริกแกงเผ็ดใต้                ½       ถ้วย เม็ดพริกไทยอ่อน                 100    กรัม กระเทียมบุบ                          10      กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                3        เม็ด น้ำปลา                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                       2        ช้อนชา   วิธีทำ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นพอคำ ผัดน้ำพริกแกงกับน้ำมันพอหอม ใส่เนื้อหมูลงผัดให้ทั่ว เติมน้ำเล็กน้อย ผัดพอหมูสุก ใส่พริกไทยอ่อน พริกชี้ฟ้า ผัดเร็วๆ ตักขึ้นรับประทานร้อนๆ    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ลาบปลาดุก

ความเป็นมา ลาบปลาดุกถูกดัดแปลงเพื่อให้เกิดรสชาติและเพิ่มคุณค่าทางสารอาหารมากยิ่งขึ้น เพราะรสชาติและรสสัมผัสของปลาดุกย่างจะแตกต่างจากเนื้อสัตว์โดยทั่วไป เนื้อปลาจะนุ่มและซึมซับรสของเครื่องปรุงได้ดีกว่า จึงได้รสชาติที่จัดจ้านกว่าเนื้อปลาชนิดอื่น   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลาดุกย่างมีสรรพคุณคือ มีโปรตีนสูง และไขมันต่ำ นอกจากนั้น ข่ายังช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนหอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจผักชีฝรั่งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง ใบสะระแหน่ช่วยบำรุงสายตา คลายเครียด ต้นหอม ช่วยป้องกันอาการท้องผูกและลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด   ส่วนผสม ปลาดุกหนัก 300 กรัม                   1        ตัว ใบมะกรูดหั่นฝอย                          2        ช้อนชา ข่าโขลกละเอียด                            1        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                10      กรัม ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                                 10      กรัม ข้าวคั่วป่น                                    2        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                       2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                   2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ล้างปลาดุกให้สะอาด ขูดเมือกบนผิวออก นำไปย่างไฟพอสุก แกะเอาแต่เนื้อนำมาสับหยาบๆ จากนั้นเคล้าเนื้อปลาดุกกับข้าวคั่ว พริกป่น ข่าหั่นฝอย หอมแดงซอย และใบมะกรูดหั่นฝอยปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว คลุกเคล้ากันให้ทั่ว โรยใบสะระแหน่ ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักเคียง    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire