SLider section

แกงอ่อมหมู

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงอ่อมหมู

ความเป็นมา

แกงอ่อมหมูของทางภาคเหนือ จะแตกต่างจากแกงอ่อมในภาคอีสาน เพราะมีพริกแกงที่รสชาติจัดจ้านกว่า สมัยก่อนแกงอ่อมของชาวล้านนาจะเป็นอาหารที่นิยมทานกันในช่วงเวลาที่สำคัญๆท่านั้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

เครื่องแกงของแกงอ่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่นตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ ข่าช่วยบำรุงร่างกาย กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย

 

ส่วนผสม

หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ            200    กรัม

ข่าอ่อนซอย                                   10      กรัม

ตะไคร้ซอย                                    15      กรัม

ใบมะกรูด                                        4        ใบ

รากผักชี                                         10      กรัม

ผักชีฝรั่งหั่นหยาบ                          1        ช้อนโต๊ะ

ผักชีซอย                                        1        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันพืชสำหรับผัด

ส่วนผสมพริกแกง

พริกแห้ง                                     7        เม็ด

หอมแดง                                     30      กรัม

กระเทียม                                    15      กรัม

ข่าซอย                                       1        ช้อนโต๊ะ

ตะไคร้ซอย                                  1        ช้อนโต๊ะ

รากผักชีซอย                                1        ช้อนชา

กะปิ                                             1        ช้อนชา

วิธีทำ

ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด นำลงไปผัดกับน้ำมันจนมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อหมูลงไปผัดจนหมูเริ่มสุก ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ผัดให้เข้ากัน เติมน้ำลงให้พอท่วมเนื้อหมู เคี่ยวต่อจนเนื้อนุ่ม ใส่ใบมะกรูด และผักชีฝรั่ง ตั้งไฟจนเดือด ยกลง ตักเสิร์ฟพร้อมโรยด้วยต้นหอม ผักชี

 

 

ภาค ใต้

ผัดหมี่ไชยา

            ความเป็นมา ผัดหมี่ไชยา แต่เดิมเรียกว่า ผัดหมี่ เป็นอาหารพื้นเมืองของอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานีมากว่า 100 ปี  เมื่อผัดเสร็จจะดูคล้ายผัดไทยแต่ผัดหมี่ไชยาจะต้องนำพริกแห้งมาตำกับกะปิและหอมแดงก่อน และจะต้องใส่กะทิให้มีรสมันตามที่คนใต้ชอบ ปรุงรสหวาน เค็ม เปรี้ยว   คุณค่าทางโภชนาการ ผัดหมี่ไชยาเป็นอาหารจานเดียวที่ได้คาร์โบไฮเดรทจากก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก ตามหลักโภชนาการแนะนำว่าต้องกินคาร์โบไฮเดรทประมาณ 40 % เพราะจะให้พลังงานและทำให้แข็งแรง จานนี้มีโปรตีนจากกุ้งสด และไขมันจากกะทิ วิตามินและเกลือแร่จากผักสดที่กินไปด้วยกัน   ส่วนผสม เส้นเล็กหรือเส้นจันท์แช่น้ำจนนุ่ม        200    กรัม กุ้งสด                                                      120    กรัม พริกแห้งเม็ดใหญ่                                   4-5     เม็ด (กรีดเม็ดออกแช่น้ำจนนุ่ม) หอมแดง                                                  30      กรัม กะปิ                                                          ½       ช้อนชา กะทิ                                                          1/3     ถ้วย น้ำปลา                                                      1        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                                         1        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                                         1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ รวนกุ้งสดตักขึ้นพักไว้ จากนั้นตำพริก หอมแดง กะปิ รวมกัน นำไปผัดกับกะทิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ใส่เส้นลงผัดให้ทั่วเข้ากัน ใส่กุ้ง ผัดจนแห้งหรือแฉะตามชอบ กินกับหัวปลี ต้นกุยช่าย ถั่วงอก    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ฉู่ฉี่ปลาทู

ความเป็นมา ฉู่ฉี่เป็นอาหารไทยที่มีน้ำข้น ขลุกขลิก เพราะมีถั่วลิสงในเครื่องพริกแกง  รสหวานนำ มีกลิ่นหอมเด่นของใบมะกรูด บางคนตั้งข้อสังเกตว่าฉู่ฉี่ปลาทูคล้ายกับปลาทูสอดไส้พริกอาหารเปอรานากัน หรือ บ้าบ๋า ย่าหยา และถูกปรับเปลี่ยนโดยคนภาคกลาง ที่นิยมกินกะทิจึงใส่กะทิให้มีความหอมมันและใช้ราดหน้าปลาแทน   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาทูจัดเป็นปลาทะเลน้ำลึกที่มีโอเมก้า 3 สูสีหรือล้ำหน้าปลาแซลมอนที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งราคาถูกกว่า สดกว่า หาง่ายกว่า ปลาทู 100 กรัมมีโอเมก้า 3 ประมาณ 2-3 กรัม ให้พลังงาน 81 -93 กิโลแคลอรี โปรตีน 18 -24 กรัม ธาตุเหล็ก 0.4-1.8 มิลลิกรัม ไขมัน 2-18 กรัม และยังมีไขมันไม่อิ่มตัวที่ลดปัญหาคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดไขมันอุดตัน และยังเป็นโปรตีนที่ย่อยงานเหมาะกับผู้สูงอายุ   ส่วนผสม ปลาทูนึ่งตัวละ 120 กรัม               4     ตัว กะทิ                                         1 ½ ถ้วย พริกแกงแดง                              ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดซอย                            3     กรัม พริกชี้ฟ้าซอยสำหรับโรยหน้า วิธีทำ ทอดปลาทูนึ่งให้เหลืองหอมเตรียมไว้ จากนั้นปั่นหรือตำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วป่นให้ละเอียด นำลงไปผัดกับกะทิเล็กน้อยปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ เติมกะทิที่เหลือ ใส่ใบมะกรูดซอย คนให้เข้ากัน นำไปราดลงบนตัวปลาทู ตกแต่งด้วยพริกชี้ฟ้าซอย


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำกระท้อน

    ความเป็นมา ตำกระท้อน หรือตำบ่าตืน คือการนำกระท้อนมาหั่นเป็นเส้นแล้วผสมรวมกับเครื่องปรุงต่างๆ ปกติแล้วกระท้อนเป็นผลไม้ที่ทานสดได้เลย แต่ชาวล้านนานำมาดัดแปลงให้อร่อยถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ กระท้อนอุดมไปด้วยวิตามินซี อีกทั้งยังมีวิตามินเอ มีเพกติน ช่วยให้ระบบขับถ่ายมีประสิทธิภาพ และเป็นยาระบายอ่อนๆ นอกจากนี้ยังมีฟอสฟอรัส ช่วยเผาผลาญไม่ให้คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีน ที่ไม่ได้ใช้งานตกค้างและสะสมในร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อกระท้อน           300    กรัม พริกขี้หนู                  5        กรัม กระเทียม                 5        กรัม น้ำตาลปี๊บ                1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปู                          ½       ช้อนชา กุ้งแห้ง                       1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ทุบกระท้อนให้นุ่ม ปอกเปลือก สับเป็นชิ้นโขลกพริกขี้หนู กระเทียม พอแตก ใส่น้ำตาลปี๊บ ปลาร้า น้ำปู และกุ้งแห้ง โขลกให้เข้ากันใส่กระท้อนลงโขลกและคลุกเคล้าให้เข้ากัน      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire