SLider section

แกงหน่อไม้

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

แกงหน่อไม้

ความเป็นมา

แกงหน่อไม้ หรือแกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง ใส่เนื้อสัตว์ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกหมู หรือปลาดุก ปลาช่อน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

หน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูงจึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี

 

ส่วนผสม

ปลาย่าง                              200    กรัม(เอาแต่เนื้อ)

หน่อไม้สด                          400    กรัม

ชะอม                                  50      กรัม

เห็ดฟางผ่าซีก                     50      กรัม

ใบชะพลู                              20      กรัม

น้ำซุป                                  5        ถ้วย

ส่วนผสมพริกแกง

พริกแห้ง                            3        เม็ด

หอมแดง                           30      กรัม

กระเทียม                          10      กรัม

กะปิ                                   1        ช้อนโต๊ะ

ปลาร้าสับ                          1        ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียดพักไว้ นำหน่อไม้ไปต้มในน้ำซุปให้สุก จากนั้นนำพริกแกงใส่ลงไปในหม้อต้มหน่อไม้ คนให้ละลาย เมื่อเดือดแล้วใส่เห็ดฟาง ปลาย่าง ชะอม และใบชะพลู ต้มจนผักสุก ตักขึ้นเสิร์ฟ

 

 

ภาค กลาง

แกงเผ็ดไก่

ความเป็นมา คนไทยเริ่มใช้กะทิในการทำอาหารโดยดัดแปลงมาจากการใช้นมของพวกอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในสมัยอยุธยา แต่เดิมคนไทยมีแต่แกงน้ำใส และมีน้ำพริกแกงที่ใช้สมุนไพรสดมาตำรวมกันเพื่อให้แกงมีรสชาติเข้มข้นขึ้น เมื่อนำเอากะทิมาใช้ผสมในน้ำแกง และใส่สมุนไพรอย่างใบโหระพาเพื่อให้มีกลิ่นสดชื่น จึงทำให้กลายเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการ แม้แกงไก่จะใช้กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งอาจจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอล แต่ก็มีสมุนไพรจากพริกแกงโดยเฉพาะพริกที่มีรสเผ็ดเพราะมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยขับเสมหะ และลดการอุดตันของหลอดเลือด มะเขือพวงมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร มะเขือเปราะที่มีกากใยที่ช่วยระบายท้อง ใบโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีนสูง โหระพา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 452.16 ไมโครกรัม แกงเผ็ดไก่จึงไม่ได้เป็นอาหารที่มีไขมันสูงอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าเรากินอย่างพอเหมาะ ส่วนผสม กะทิ                                         4     ถ้วย เนื้อไก่                                      300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย มะเขือเปราะ                              100 กรัม มะเขือพวง                                 20   กรัม ใบโหระพา                                50   กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                      10   กรัม น้ำปลา น้ำตาลเล็กน้อย ส่วนผสมน้ำพริกแกงแดง พริกแห้ง 9 เม็ด กรีดเม็ดออกและแช่น้ำจนนุ่ม ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย หอมแดงซอย  ¼ ถ้วย กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนชา รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว 4 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด วิธีทำ    ผัดเครื่องแกงกับกะทิเล็กน้อยจนหอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้ผิวด้านนอกสุกขาว จากนั้นในกะทิลงไป เติมน้ำสะอาดเล็กน้อยต้มจนเริ่มเดือดและกะทิแตกมัน ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ชิมรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ  


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

น้ำพริกกุ้งเสียบ

ความเป็นมา กุ้งเสียบเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อนๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นานและมีกลิ่นหอมรมควัน นำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า   คุณค่าทางโภชนาการ การรมควันหรือปิ้งไม่ทำให้โปรตีนในอาหารลดน้อยลง กุ้งเสียบจึงมีโปรตีนและยิ่งมีเปลือกจึงให้แคลเซียมสูงไปด้วย ส่วนผสมในน้ำพริก เช่น กระเทียม ช่วยลดคอเลสเตอรอล หอมแดงช่วยให้สดชื่น สิ่งสำคัญคือผักสดที่กินร่วมกันหรือที่คนใต้เรียกว่าถาดผักเหนาะ เพราะมีผักพื้นบ้านที่ให้วิตามิน และเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์  ใบบัวบก ถั่วฝักยาว เป็นต้น   ส่วนผสม กุ้งเสียบคั่วกรอบ            1     ถ้วย หอมแดง                     30   กรัม กระเทียม                    20   กรัม กะปิย่างไฟ                   2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                    2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                     3     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาดี                       1     ช้อนชา พริกขี้หนู                     10   กรัม วิธีทำ   ตำกระเทียมและกะปิให้ละเอียด ใส่หอมแดง และพริกขี้หนู ตำให้ละเอียดดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา จากนั้นใส่กุ้งเสียบ อาจจะคนหรือใช้สากบุบให้พอเข้ากัน ตักขึ้น เติมน้ำมะนาวคนให้เข้ากันอีกครั้ง


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ตำโคราช

  ความเป็นมา ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งแห้งและปลาร้า อาจใส่เส้นขนมจีน ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน   คุณค่าทางโภชนาการ ตำโคราช มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ  มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้าและกุ้งแห้ง   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น               120    กรัม มะเขือเทศสีดา                      30      กรัม พริกขี้หนูสด                            8        เม็ด กระเทียม                                 5        กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน            25      กรัม กุ้งแห้ง                                     1        ช้อนโต๊ะ ถั่วลิสงคั่ว                                2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                   ½       ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                     1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ใส่กระเทียมและพริกขี้หนู ลงในครก โขลกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกใส่มะเขือเทศ น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา  น้ำปลาร้าแล้วคลุกให้เข้ากันใส่มะละกอ ตามด้วยถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้งแล้วโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันชิมแล้วปรุงตามชอบ ตักใส่จาน รับประทานพร้อมผักสด    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire