SLider section

หมี่กรอบ

ภาค กลาง

  • recipe image cover
  • recipe image cover

หมี่กรอบ

ความเป็นมา

หมี่กรอบเป็นอาหารที่มีความเป็นจีนและไทยผสมผสานกัน เพราะเส้นหมี่หรือก๋วยเตี๋ยว และเทคนิควิธีการทอดโดยใช้น้ำมันร้อนท่วมมีต้นกำเนิดมาจากจีน แต่เมื่อทอดแล้วนำมาปรุงรสอย่างไทยให้มีรสเปรี้ยวหวานจากน้ำส้มมะขาม น้ำตาลปี๊บ ทั้งส่วนผสม เช่น เต้าหู้ เต้าเจี้ยว รวมทั้งถั่วงอกและใบกุยช่ายก็เป็นผักของจีน แต่ต้องมีรสซ่าหอมจากผิวส้มซ่าซึ่งใช้โรยหน้าหมี่กรอบ และเป็นส่วนผสมหรือเอกลักษณ์สำคัญที่จะขาดไม่ได้

 

คุณค่าทางโภชนาการ

เส้นหมี่ทำจากแป้งข้าวเจ้าที่ให้คาร์โบไฮเดรตพอสมควร มีโปรตีนที่ได้จากหมูและกุ้ง

และโปรตีนจากถั่ว เช่น เต้าหู้ ไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดหมี่และผัด และได้กากใยอาหาร วิตามินซี จากผักสดที่มากินคู่กันอย่าง หัวปลีสด ใบบัวบก และธาตุเหล็กจากใบกุยช่ายสด

 

ส่วนผสม

เส้นหมี่อบแห้ง                            100 กรัม

หมู กุ้ง หั่นชิ้นเล็กรวมกัน              80   กรัม

หอมแดงสับ                               2     ช้อนโต๊ะ

กระทียมสับ                                1     ช้อนโต๊ะ

เต้าหู้แข็งหั่นฝอย                        50   กรัม

ไข่ไก่                                        2     ฟอง

น้ำส้มสายชู                               1     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                     1     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ

เต้าเจี้ยวดำบด                            1     ช้อนโต๊ะ

น้ำมันสำหรับผัดเครื่องและทอดหมี่

กระเทียมดองซอยบาง ผิวส้มซ่าหั่นฝอย พริกชี้ฟ้าแดงหั่นฝอย ผักชี สำหรับโรยหน้า

ผักแนม ถั่วงอก ใบกุยช่าย

วิธีทำ

นำเส้นหมี่อบแห้งลงทอดในน้ำมันร้อนจัดให้ฟูตักขึ้นพักไว้ ทอดเต้าหู้ และทำไข่ฝอยพักไว้ จากนั้นจึงทำน้ำปรุงรส โดยผัดหอมแดง และกระเทียมสับให้หอม ใส่หมูและกุ้ง ผัดให้สุก ปรุงรสและเคี่ยวจนเริ่มงวดเล็กน้อย จากนั้นนำเต้าหู้ทอดลงไปผัดรวมกัน ใส่หมี่ทอดกรอบคลุกให้เข้ากันจนทั่ว ตักขึ้นพักให้เย็น โรยหน้าด้วยเครื่องแต่งหน้า ผัก และไข่หั่นฝอย

ภาค อีสาน

ส้มตำลาว

ความเป็นมา ส้มตำลาว คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาว ซึ่งแตกต่างออกไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาร้าและมะละกอดิบเป็นหลัก ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เพราะแต่เดิมเรียกตำลาวว่า “ตำหมากหุ่ง”   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำลาว มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น              120    กรัม มะเขือเทศสีดา                    30      กรัม มะกอกสุก                             10      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน          25      กรัม พริกขี้หนูสด                         8        เม็ด กระเทียม                              5        กรัม น้ำมะนาว                              1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                  1/2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันชิมรสตามชอบ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

หมูผัดสับปะรด

    ความเป็นมา คนโบราณนิยมนำผลไม้มาทำอาหารคาว โดยใช้รสเปรี้ยวหวานตามธรรมชาติมาช่วยชูรสอาหารให้อร่อยโดยไม่ต้องใส่ผงชูรส สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมากมีทั้งรสเปรี้ยวและหวาน คนใต้นิยมนำมาทำแกงเหลือง หรือนำมาผัดกับหมูเป็นอาหารอร่อยๆ จากผลไม้อีกจาน   คุณค่าทางโภชนาการ สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีและใยอาหารมากพอสมควร ในอดีตสับปะรดใช้เป็นยากลางบ้านที่ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ หลอดลมอักเสบ และอาหารไม่ย่อย ในปัจจุบันค้นพบว่ามีเอนไซด์ โบรมีเลนซึ่งจะช่วยละลายลิ่มเลือดเป็นประโยชน์กับโรคหัวใจอุดตัน โรคข้อเสื่อม  และสรรพคุณที่เด่นที่สุดคือช่วยย่อยโปรตีน หมูผัดสับปะรดจานนี้จึงเป็นจานสมดุลที่ทำให้อิ่มสบายท้อง   ส่วนผสม สับปะรดหั่นเป็นชิ้นเล็ก          200    กรัม หมูสามชั้นหั่นชิ้นเล็ก             80      กรัม กระเทียมบุบ                            5        กรัม เกลือ น้ำปลา น้ำตาล อย่างละเล็กน้อย   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อน ใส่กระเทียมลงเจียวให้หอม ใส่หมูลงไปผัดสักครู่ ตามด้วยสับปะรด ผัดจนสับปะรดสลด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาล ชิมให้ได้รสเปรี้ยวหวาน    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ผัดสะตอหมูกุ้ง

ความเป็นมา อาหารที่นำผักท้องถิ่นของภาคใต้มาผัดกับเนื้อหมู กุ้ง ใส่กะปิให้มีรสเค็ม และมีกลิ่นหอมจากหอมแดง กระเทียม ใช้เทคนิคการผัดกับน้ำมันโดยใช้ไฟร้อนเหมือนกับการผัดทั่วไป นับเป็นอาหารที่แพร่หลายในหลายภูมิภาค ไม่ใช่เฉพาะในภาคใต้เท่านั้น   คุณค่าทางโภชาการ เม็ดสะตอเนื้อนุ่มกรอบ รสมัน มีกลิ่นรุนแรง จะกินสดหรือผัดให้สุกก็ได้ สะตอเป็นผักที่ให้พลังงานค่อนข้างสูง สะตอ 20 เม็ดให้พลังงานพอๆ กับขนมปัง 2 แผ่น และยังอุดมไปด้วยโปรตีน สะตอ 100 กรัมให้พลังงาน  130  กิโลแคลอรี  โปรตีน 8 กรัม คาร์โบไฮเดรท 15.5 กรัม แคลเซียม 76 มิลลิกรัม และฟอสฟอรัส 83 มิลลิกรัม   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่นบาง               300 กรัม กุ้งแชบ๊วย                     300 กรัม สะตอ                           ½    ถ้วย น้ำมันสำหรับผัด            2     ช้อนโต๊ะ กะปิ                                1     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                       10   กรัม หอมแดง                        40   กรัม น้ำปลา                            2     ช้อนชา เกลือ                               ½    ช้อนชา พริกชี้ฟ้าแดงหั่นแฉลบ          1     เม็ด    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire