SLider section

วุ้นกะทิ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

วุ้นกะทิ

 

 

ความเป็นมา

วุ้นเป็นขนมหวานของไทยที่หากินได้ทั่วไป เนื้อวุ้นจะคล้ายกับเยลลี่ของฝรั่ง แตกต่างกันที่เนื้อสัมผัสของวุ้นจะแข็งและกรอบกว่า คนไทยนำกะทิมาผสมกับผงวุ้นเติมเกลือเล็กน้อยเพื่อให้มีรสเค็มมัน ทำเป็นหน้าของวุ้นตัดกับรสหวานของเนื้อวุ้นที่ใส่เฉพาะน้ำตาล ทำให้กินได้อร่อยไม่เลี่ยน และใส่สลับชั้นให้ดูสวยงาม

 

คุณค่าทางโภชนาการ

วุ้นเป็นสารสกัดมาจากสาหร่ายที่เรียกว่า “อาการ์” มีคุณสมบัติทำให้เนื้อขนมแข็ง สาหร่ายมีธาตุไอโอดีน แต่เมื่อเทียบกับน้ำตาลและกะทิที่เป็นส่วนผสมของวุ้นกะทิซึ่งมีมากกว่าวุ้น จึงควรบริโภคแต่พอเหมาะ แม้ว่าวุ้นกะทิปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 133 กิโลแคลอรี แต่ก็ไม่ควรกินมากเกินไป

 

ส่วนผสมตัววุ้น

วุ้นผง                                1        ช้อนโต๊ะ

น้ำลอยดอกมะลิ                  2 1/4  ถ้วย

น้ำตาลทราย                       1/2     ถ้วย

น้ำใบเตย (ตำและคั้นน้ำ )หรือสีผสมอาหารสีตามชอบ

 

ส่วนผสมหน้ากะทิ

ผงวุ้น                                 1        ช้อนโต๊ะ

หัวกะทิ                              2 ¼    ถ้วย

น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย

เกลือป่น                             2        ช้อนชา

 

วิธีทำ

ผสมผงวุ้น น้ำลอยดอกมะลิ เกลือ ตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลายหมด ก่อนยกขึ้นใส่น้ำใบเตยให้มีสีสวยตามชอบ ตักใส่พิมพ์ นำส่วนผสมหัวกะทิตั้งไฟ คอยคนจนวุ้นละลาย ตักหยอดหน้าตัววุ้น

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

    ความเป็นมา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเป็นอาหารจานเดียวประเภทเส้นของคนจีนกวางตุ้ง ได้ข้ามาเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในสมัยที่มีการอพยพเข้ามาของชาวจีนและคนจีนที่มีฝีมือทางด้านทำอาหารได้เปิดร้านเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เนื่องจากเป็นอาหารจานเดียวที่ทำได้ง่ายและเป็นที่นิยม จึงกลายเป็นที่แพร่หลายมาจนปัจจุบัน   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าจัดเป็นอาหารเส้นที่มีคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่ เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้า ในปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 220 กิโลแคลอรีเพราะเส้นจะมีน้ำมันเคลือบ ในขณะที่ข้าวหุงสุก 100 กรัมให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จานให้พลังงาน  397 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            120    กรัม เนื้อหมู                              50      กรัม ผักคะน้าหั่น                        50      กรัม เต้าเจี้ยว                              2        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊ว                                    1        ช้อนชา น้ำซุป                                   1        ถ้วย แป้งมันสำปะหลัง                 2        ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย) น้ำมันสำหรับผัด                  2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อยพอเคลือบกระทะ พอร้อนใส่เส้นลงไปผัดให้เส้นกระจายและไม่ให้ติดกัน ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย ผัดจนหอม ตักขึ้นใส่จานผัดหมูกับน้ำมัน พอสุกใส่ผักคะน้า เติมน้ำซุปเล็กน้อย ใส่เต้าเจี้ยว รอจนเดือด เติมแป้งมันสำปะหลังให้พอเหนียว ตักราดเส้นที่ผัดไว้ เสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงกล้วยดิบ

ความเป็นมา แกงกล้วยดิบ เป็นแกงชนิดหนึ่ง ใช้กล้วยน้ำว้าดิบเป็นส่วนผสมเพราะหาได้ทั่วไปกล้วยจึงเป็นที่นิยมที่จะนำมาประกอบอาหารหลากหลายประเภท   คุณค่าทางโภชนาการ กล้วยน้ำว้าช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี   ส่วนผสม กล้วยน้ำว้าดิบ                     400    กรัม เนื้อหมูสามชั้น                    100    กรัม ชะอมเด็ด                             50      กรัม ชะพลูหั่นหยาบ                   50      กรัม หอมแดงซอย                        1     ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง                      15      เม็ด กระเทียม                            10      กรัม หอมแดง                            30      กรัม ข่าหั่น                                 1        ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย                         1        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                     1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าต้มสุก                      1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                                 1/2     ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับหมูสามชั้นจนมีกลิ่นหอม และหมูเริ่มสุก เติมน้ำให้พอท่วม ตั้งไฟจนเดือด ใส่กล้วยน้ำว้าดิบหั่นเป็นแผ่นบางๆ ตั้งไฟจนเดือดอีกครั้ง ใส่หอมแดงซอย ชะอมเด็ด และใบชะพลู คนให้เข้ากันและผักสุก ตักขึ้นเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

น้ำพริกกะปิ

ความเป็นมา น้ำพริกคู่ครัวไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตและกินกันทุกครัวเรือน กะปิเรียกได้ว่าเป็นอาหารร่วมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กินกันทุกประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน คำว่า”กะปิ” นี้ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “งาปิ” ซึ่งเป็นภาษามอญ น้ำพริกกะปิของไทยต้องมีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และไม่ควรข้นเกินไปเพราะต้องกินกับข้าวและเครื่องเคียงอย่าง ปลาทู ผักสด และผักทอดต่างๆ   คุณค่าทางโภชนาการ กะปิทำจากเคยหมักจึงให้แคลเซียมสูงมาก กะปิ 100 กรัม ให้แคลเซียมสูงถึง 1,554 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ในน้ำพริกยังมีกระเทียมที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด พริกกระตุ้นความอยากอาหาร และมะอึกที่มีรสเปรี้ยวทำให้น้ำพริกมีรสกลมกล่อม อร่อย ทำให้กินผักเครื่องเคียงต่างๆ ที่มีวิตามิน และกากใยได้อีกมากมาย   ส่วนผสม กะปิอย่างดี เผาไฟ                      2     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                                   10   กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด                       2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูเขียว แดง รวมกัน          10   กรัม มะอึก ขูดขนออกหั่นบาง              60   กรัม น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนชา น้ำมะนาว                                  2     ช้อนโต๊ะ มะเขือพวงบุบ                            10   กรัม เครื่องเคียง ปลาทูทอด ผักลวก เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักทอด เช่น มะเขือยาวชุบไข่ทอด ไข่ชะอมทอด วิธีทำ ตำกระเทียม และกะปิให้เข้ากันดี ทำให้กลิ่นของกะปิและกระเทียมไม่แรงจนเกินไป จากนั้นใส่กุ้งแห้ง พริกขี้หนู ตำให้พริกพอแหลก ใส่มะอึก ตำเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา คนให้เข้ากัน จากนั้นตักออกจากครกจึงใส่น้ำมะนาว ชิมรสอีกครั้ง จึงใส่มะเขือพวงบุบ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire