SLider section

ลาบปลาช่อนทอด

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ลาบปลาช่อนทอด

 

ความเป็นมา

ปลาในภาคอีสานมีให้เลือกทานหลายชนิด ปลาช่อนเป็นหนึ่งในปลาที่นิยมทานกันมาก เพราะเนื้อแน่นและมีรสชาติอร่อยสามารถนำมาทำเป็นเมนูได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ย่าง ทอด แกง และลาบ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ปลาช่อนมีโปรตีนที่ย่อยง่ายกว่าเนื้อสัตว์ชนิดอื่นๆ ทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่ต้องทำงานหนัก นอกจากนี้ปลายังมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด อีกทั้งยังมีโอเมก้า3ซึ่งเป็นโครงสร้างไขมันที่สำคัญในสมองและจอประสาทตา

 

ส่วนผสม

ปลาช่อนบั้งลำตัว ขนาด 400 กรัม           1        ตัว

หอมแดงซอย                                  40      กรัม

น้ำปลา                                            2        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                                         4        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                        1        ช้อนโต๊ะ

พริกป่น                                            1        ช้อนโต๊ะ

ข้าวคั่ว                                             2        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมซอย                                     10      กรัม

ผักชีฝรั่ง หั่นหยาบ                            20      กรัม

ใบสะระแหน่                                     10      กรัม

 

วิธีทำ

นำปลาช่อนไปทอดให้เหลืองกรอบ จัดวางลงจานเตรียมน้ำยำโดยการผสม น้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บและพริกป่นเข้าด้วยกันคลุกเคล้า หอมแดงซอย ต้นหอมซอย  ผักชีฝรั่ง น้ำยำ และข้าวคั่วพอเข้ากันแล้วราดลงบนตัวปลาโรยหน้าด้วยใบสะระแหน่ เสิร์ฟพร้อมผักเคียง

 

 

ภาค อีสาน

ผัดหมี่โคราช

    ความเป็นมา ผัดหมี่โคราช คืออาหารท้องถิ่นจากเมืองโคราชจังหวัดนครราชสีมา มีหน้าตาคล้ายกับผัดไทยในภาคกลาง ผัดหมี่โคราชเป็นที่นิยมเนื่องจากรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่หาทานที่ไหนไม่ได้ จึงเป็นที่ชื่นชอบของทุกคนที่ผ่านไปผ่านมาที่เมืองโคราชแห่งนี้   คุณค่าทางโภชนาการ เส้นหมี่โคราช มีคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานแก่ร่างกาย ถั่วงอก ต้นหอมให้วิตามิน น้ำมะขามเปียก ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส   ส่วนผสม เส้นหมี่โคราช                      120    กรัม กระเทียมสับ                       1        ช้อนชา หอมแดงซอย                      1        ช้อนโต๊ะ หมูสับ                               30      กรัม เต้าเจี้ยว                            1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                              2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                   1        ช้อนโต๊ะ ซีอิ้วดำ                              1        ช้อนชา พริกไทย                            1        ช้อนชา น้ำสะอาด                          1        ถ้วย น้ำมันพืช                           2        ช้อนโต๊ะ ถั่วงอก ต้นหอมหั่นท่อน วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมัน นำกระเทียม หอมแดง และหมูสับลงไปผัดให้หอม จากนั้นใส่เส้นหมี่โคราชลงไปใส่น้ำปลา น้ำตาล ซีอิ้วตำ น้ำมะขามเปียก เต้าเจี้ยว และน้ำสะอาด ผัดให้ส่วนผสมเข้ากันกับเส้นเมื่อเส้นเริ่มนุ่มใส่ถั่วงอกและต้นหอมลงไปผัดให้เข้ากันเสิร์ฟใส่จานโรยหน้าด้วย พริกไทย ถั่งลิสงบดและพริกป่น    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ปลาสำลีทอดกับยำมะม่วง

ความเป็นมา ปลาทอดเป็นอาหารที่กินกันทั่วไป ปลาสำลีเป็นปลาเนื้อขาว นุ่มละเอียด จึงดูดซึมน้ำจิ้มหรือน้ำยำได้ดี และความอร่อยของปลาทอด  นอกจากต้องสดเนื้อจึงจะหวานแล้ว การนำยำมะม่วงที่มีรสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวาน มากินร่วมกันหรือเป็นน้ำจิ้มนั้นทำให้กินอร่อยมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนากร ปลาเป็นอาหารทะเลที่ให้โปรตีนสูง ไขมันต่ำ และยังมีโอเมก้า 3 ไขมันดีที่ช่วยบำรุงสมอง และไม่ทำให้เส้นเลือดอุดตัน นักโภชนาการแนะนำว่าเราควรกินปลาทะเลอย่างน้อยอาทิตย์ละ 2 มื้อ จานนี้จึงอุดมด้วยโปรตีนเมื่อกินกับยำมะม่วงที่มีรสเปรี้ยวตามธรรมชาติกับส่วนผสมอย่างหอมแดง พริก น้ำมะนาว ช่วยเสริมวิตามินซีเพิ่มขึ้นอีก   ส่วนผสม ปลาสำลี น้ำหนัก 300-400 กรัม    1     ตัว มะม่วงเปรี้ยวสับและฝานเป็นเส้นยาว     80    กรัม หอมแดงซอย                             ¼    ถ้วย กุ้งแห้งตำ                                    2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูซอย                            10   กรัม ถั่วลิสงคั่ว หรือถั่วหิมพานต์คั่วสำหรับโรยหน้า ผักชีสำหรับโรยหน้า   ส่วนผสมน้ำยำ น้ำปลา น้ำตาล น้ำมะนาว อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากัน ชิมรส วิธีทำ                                              ทอดปลาในน้ำมันร้อนท่วม ยำมะม่วงโดยจัดมะม่วงใส่ชาม โรยหอมแดง กุ้งแห้ง ราดน้ำยำ ถั่ว ผักชี กินคู่กับปลาทอด  


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire