SLider section

ฟักทองผัดไข่พริกไทยดำ

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ฟักทองผัดไข่พริกไทยดำ

 

 

ความเป็นมา

คนใต้เรียกฟักทองว่า “น้ำเต้า” เป็นผักพันธุ์ไม้เลื้อยที่ขึ้นง่าย ชาวบ้านมักจะปลูกไว้หลังบ้าน ทำอาหารกินได้ทั้งคาวและหวาน หรือผัดกับน้ำมันง่ายๆ ให้ได้รสหวานตามธรรมชาติโดยไม่ต้องปรุงแต่งมาก แต่คนใต้ชอบรสเผ็ดร้อน จึงใส่พริกไทยดำมากกว่าทางภาคกลาง

 

คุณค่าทางอาหาร

สีเหลืองของฟักทองมีเบต้าแคโรทีนอยู่เต็มเปี่ยมซึ่งสามารถช่วยป้องกันมะเร็งได้  และยังอุดมไปด้วยวิตามินเอที่ช่วยให้ดวงตาแข็งแรง ในตำราโบราณบอกไว้ว่าถ้ากินพร้อมเปลือกจะมีฤทธิ์ทางยา สามารถกระตุ้นการหลั่งของอินซูลินที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันเบาหวาน และโรคความดันโลหิตได้

 

ส่วนผสม

ฟักทองหั่นชิ้นเล็ก                 300    กรัม

หอมแดงซอย                         10      กรัม

กระเทียม                                  5        กรัม

พริกไทยดำ                              1        ช้อนชา

ไข่                                            1        ฟอง

น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาล                                        2        ช้อนโต๊ะ

น้ำสะอาด

 

วิธีทำ

โขลกหอม กระเทียม พริกไทย รวมกัน ตั้งกระทะใส่น้ำมันพอร้อนใส่ส่วนผสมที่ตำไว้ลงผัดพอหอม ใส่ฟักทอง ผัดสักครู่ ค่อยๆ เติมน้ำทีละน้อยจนฟักทองสุก ใส่ไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ผัดให้เข้ากันตักเสิร์ฟ

 

 

ภาค กลาง

น้ำพริกกะปิ

ความเป็นมา น้ำพริกคู่ครัวไทยที่มีมาตั้งแต่อดีตและกินกันทุกครัวเรือน กะปิเรียกได้ว่าเป็นอาหารร่วมของประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กินกันทุกประเทศในรูปแบบต่างๆ กัน คำว่า”กะปิ” นี้ว่ากันว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “งาปิ” ซึ่งเป็นภาษามอญ น้ำพริกกะปิของไทยต้องมีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม หวาน และไม่ควรข้นเกินไปเพราะต้องกินกับข้าวและเครื่องเคียงอย่าง ปลาทู ผักสด และผักทอดต่างๆ   คุณค่าทางโภชนาการ กะปิทำจากเคยหมักจึงให้แคลเซียมสูงมาก กะปิ 100 กรัม ให้แคลเซียมสูงถึง 1,554 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการแคลเซียมในแต่ละวัน ซึ่งจะช่วยทำให้กระดูกและฟันแข็งแรง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน ในน้ำพริกยังมีกระเทียมที่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด พริกกระตุ้นความอยากอาหาร และมะอึกที่มีรสเปรี้ยวทำให้น้ำพริกมีรสกลมกล่อม อร่อย ทำให้กินผักเครื่องเคียงต่างๆ ที่มีวิตามิน และกากใยได้อีกมากมาย   ส่วนผสม กะปิอย่างดี เผาไฟ                      2     ช้อนโต๊ะ กระเทียม                                   10   กรัม กุ้งแห้งตำละเอียด                       2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูเขียว แดง รวมกัน          10   กรัม มะอึก ขูดขนออกหั่นบาง              60   กรัม น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนชา น้ำมะนาว                                  2     ช้อนโต๊ะ มะเขือพวงบุบ                            10   กรัม เครื่องเคียง ปลาทูทอด ผักลวก เช่น หน่อไม้ ผักบุ้ง ผักทอด เช่น มะเขือยาวชุบไข่ทอด ไข่ชะอมทอด วิธีทำ ตำกระเทียม และกะปิให้เข้ากันดี ทำให้กลิ่นของกะปิและกระเทียมไม่แรงจนเกินไป จากนั้นใส่กุ้งแห้ง พริกขี้หนู ตำให้พริกพอแหลก ใส่มะอึก ตำเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา คนให้เข้ากัน จากนั้นตักออกจากครกจึงใส่น้ำมะนาว ชิมรสอีกครั้ง จึงใส่มะเขือพวงบุบ


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงหน่อไม้

ความเป็นมา แกงหน่อไม้ หรือแกงหน่อ ใช้หน่อไม้สดในการปรุง ใส่เนื้อสัตว์ได้ตามต้องการ ไม่ว่าจะเป็น กระดูกหมู หรือปลาดุก ปลาช่อน   คุณค่าทางโภชนาการ หน่อไม้เป็นอาหารที่ให้เส้นใยสูงจึงช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ เมื่อหน่อไม้ผ่านการย่อยร่างกายจะดูดซึมสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ดี   ส่วนผสม ปลาย่าง                              200    กรัม(เอาแต่เนื้อ) หน่อไม้สด                          400    กรัม ชะอม                                  50      กรัม เห็ดฟางผ่าซีก                     50      กรัม ใบชะพลู                              20      กรัม น้ำซุป                                  5        ถ้วย ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้ง                            3        เม็ด หอมแดง                           30      กรัม กระเทียม                          10      กรัม กะปิ                                   1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าสับ                          1        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียดพักไว้ นำหน่อไม้ไปต้มในน้ำซุปให้สุก จากนั้นนำพริกแกงใส่ลงไปในหม้อต้มหน่อไม้ คนให้ละลาย เมื่อเดือดแล้วใส่เห็ดฟาง ปลาย่าง ชะอม และใบชะพลู ต้มจนผักสุก ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ตะโก้

    ความเป็นมา ตะโก้เป็นขนมไทยที่ใช้แป้งข้าวเจ้า และแป้งถั่วเขียว มาผสมน้ำตาล และน้ำลอยดอกมะลิ ที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์หอมชื่นใจ กวนรวมกันให้มีเนื้อสัมผัสนุ่มหนึบ และราดหน้าด้วยหัวกะทิรสเค็มมัน เนื้อสัมผัสนุ่มเนียนเหมือนวิปครีมของฝรั่ง ตะโก้จึงเป็นขนมยอดนิยมที่ขายดีในต่างประเทศ   คุณค่าทางโภชนาการ น้ำตาลซึ่งเป็นส่วนผสมหลักและรสชาติโดดเด่นในขนมหวาน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรทเช่นเดียวกับแป้ง ในกระบวนการย่อยอาหารน้ำตาลต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นกลูโคส ตะโก้มีส่วนผสมของกะทิที่หยอดหน้า ซึ่งมีไขมันอิ่มตัว แม้ว่าจะเป็นขนมชิ้นเล็กแต่ก็ไม่ควรกินมาก เกินไป นักโภชนาการแนะนำว่าวันหนึ่งไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6-8 ช้อนชา   ส่วนผสม แป้งข้าวเจ้า                                          1        ถ้วย แป้งมันสำปะหลัง                                 ½       ถ้วย แป้งถั่ว                                                  ¼       ถ้วย น้ำลอยดอกมะลิ                                    4        ถ้วย แห้ว /เผือกนึ่ง/ เม็ดบัวนึ่งหั่นชิ้นเล็ก    1        ถ้วย   ส่วนผสมน้ำเชื่อม น้ำ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ถ้วย ส่วนผสมกะทิราดหน้า หัวกะทิ 1 ½ ถ้วย แป้งข้าวเจ้า ¾ ถ้วย เกลือ 1 ½ ช้อนชา ผสมรวมกัน ตั้งไฟจนข้น   วิธีทำ ผสมแป้งทั้ง 3 ชนิด นวดกับน้ำลอยดอกมะลิ โดยค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยจนหมด นำไปตั้งไฟกวน  ค่อยๆ เติมน้ำเชื่อมไปเรื่อยๆ จนแป้งสุก ใส่แห้วจีน กวนจนข้นเหนียว ตักใส่กระทงและหยอดหน้ากะทิ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire