SLider section

พะแนงเนื้อ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา

พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย

 

ส่วนผสม

กะทิ                                         2     ถ้วย

เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม

น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย

ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ

ใบมะกรูด                                  5     กรัม

วิธีทำ

ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม

ภาค กลาง

ข้าวหมูแดง

ความเป็นมา หมูแดงเป็นอาหารที่ไทยรับมาจากจีนซึ่งเป็นอาหารประเภทย่างหรือบาร์บีคิวชนิดหนึ่ง โดยทั่วไปคนจีนจะนิยมกินกับข้าว แต่การกินเป็นอาหารจานเดียวโดยหั่นหมูแดง หมูกรอบ กุนเชียง ไข่ต้ม วางบนหน้าข้าวและราดด้วยน้ำหมูแดงกินกับต้นหอม น่าจะเป็นการพัฒนารูปแบบการกินตามลักษณะของคนไทยในภายหลัง   คุณค่าทางโภชนา หมูเป็นเนื้อสัตว์ที่ให้โปรตีนสูง เนื้อหมู 100 กรัม มีโปรตีน 13.9 กรัม ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูก ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงที่นำสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย ในทางการแพทย์จีนเชื่อว่าโปรตีนและไขมันจากหมูจะช่วยให้ร่างกายอบอุ่น   ส่วนผสม หมูสันใน                                   500 กรัม รากผักชีบุบ                               50   กรัม กระเทียมบุบ                              30   กรัม ผงพะโล้                                    1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                             2     ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว                                    2     ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ                                      1     ช้อนชา พริกไทยป่น                              1     ช้อนชา สีผสมอาหารสีแดง                   1     ช้อนโต๊ะ   ส่วนผสมน้ำราดหมูแดง น้ำซุปกระดูกหมู 1 ½ ถ้วย ซีอิ๊วขาว 4 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายแดง 4 ช้อนโต๊ะ น้ำที่เหลือจากการหมักหมู น้ำที่ได้จากการย่างหมู งาคั่วบุบ 4 ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลัง  3 ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย)   วิธีทำ หมักหมูด้วยส่วนผสมทั้งหมดพักไว้ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง จากนั้นนำไปย่างด้วยไฟอ่อนจนสุก หรือสามารถใช้วิธีอบด้วยถังหรือเตาอบก็ได้ หมั่นทาหมูในระหว่างย่างด้วยน้ำหมักหมูจะทำให้หมูยังคงมีความชุ่มชื้น น้ำหมักหมูสามารถนำไปเป็นส่วนผสมในการทำน้ำราดหมูแดงได้ต่ออีกด้วย


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ตำจิ้นแห้ง

    ความเป็นมา จิ๊นแห้ง คือเนื้อวัวแห้งหรือเนื้อวัวย่าง เป็นการถนอมอาหารประเภทเนื้อวัวให้สามารถเก็บไว้ได้นานๆ ตำจิ๊นแห้งก็คือการโขลกพริกแกงกับเนื้อแห้งเพื่อให้มีรสชาติมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ในส่วนผสมของตำจิ๊นแห้งมีสรรพคุณต่างๆ เช่น  กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ   ส่วนผสม เนื้อวัวแห้ง                100    กรัม ผักชีซอย                  1        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมซอย              1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ              1        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช                   2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง            15      เม็ด กระเทียม                  15      กรัม หอมแดง                  40      กรัม ข่าหั่น                       1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                         1        ช้อนชา   วิธีทำ โขลกพริก หอมแดง กระเทียม ข่า และเกลือให้ละเอียด ใส่เนื้อวัวแห้งลงโขลกรวมกับเครื่องพริกแกงที่โขลกไว้ให้เข้ากัน พักไว้ เจียวกระเทียมกับน้ำมันพืช ใส่ส่วนผสมที่โขลกไว้ผัดให้เข้ากัน ตักใส่ชาม โรยด้วยผักชีต้นหอม      


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ปลาโอต้มหวาน

    ความเป็นมา อาหารรสหวานในสำรับอาหารใต้ มักเป็นการช่วยแก้รสเผ็ดซึ่งเป็นรสชาติประจำของอาหารใต้ จึงนำปลาโอที่มีอยู่ชุกชุมมาต้มใส่น้ำตาลและซีอิ๊วให้มีรสหวานนำ เค็มตาม ใช้รับประทานคู่กับอาหารใต้รสจัดได้หลายเมนู   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาโอจัดเป็นปลาทูน่าสายพันธุ์หนึ่ง เนื้อสีชมพูแดงเข้ม นิยมนำมาทำปลาทูน่ากระป๋อง เนื้อค่อนข้างแข็ง เมื่อนำมาต้มหวานยิ่งต้มเนื้อจะยิ่งแข็งขึ้น ปลาโอเป็นปลาทะเลที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงในระดับต้นๆ ของปลาทะเล และมีไขมันไม่อิ่มตัวสูง จึงช่วยเรื่องหลอดเลือดทั้งหลอดเลือดสมองและหัวใจไม่ให้อุดตัน   ส่วนผสม ปลาโอหั่นชิ้น                      300    กรัม กระเทียมบุบ                      10      กรัม หอมแดง                            20      กรัม ตะไคร้บุบ                           30      กรัม น้ำสะอาด                           2        ถ้วย น้ำตาลมะพร้าว                   3        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วดำ                               2        ช้อนชา เกลือ                                   1        ช้อนชา   วิธีทำ ตั้งหม้อใส่น้ำพอเดือดใส่หอมแดง กระเทียม ตะไคร้ ต้มจนเดือดใส่เนื้อปลา รอจนเดือดอีกครั้งปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว ซีอิ๊วดำ เกลือ ลดไฟอ่อน ต้มไปเรื่อยๆ จนเนื้อปลาแข็ง ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire