SLider section

ปลากระบอกต้มส้มโหนด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ปลากระบอกต้มส้มโหนด

ความเป็นมา

ต้มโนด หรือ น้ำส้มโหนด เป็นน้ำส้มสายชูหมักจากน้ำตาลโตนด ซึ่งเป็นการทำน้ำตาลหวานที่ได้จากต้นตาลมาทำเป็นน้ำตาลเปรี้ยว หรือน้ำสายชูเปรี้ยว นับเป็นภูมิปัญญาของคนใต้ที่นำพืชท้องถิ่นมาแปรรูปได้อย่างสร้างสรรค์ นำมาต้มปลากระบอกที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นรสชาติธรรมชาติจากท้องถิ่นโดยแท้จริง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

น้ำส้มสายชูหมักเป็นการหมักตามกรรมวิธีธรรมชาติ รสจะไม่เปรี้ยวจัด เมื่อหมักจากน้ำตาลโตนด ทำให้มีกลิ่นเปรี้ยวหอมที่นำไปทำอาหารได้กลิ่นเป็นเอกลักษณ์ชวนกิน น้ำส้มสายชูให้รสเปรี้ยวมีวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัดคัดจมูกได้อย่างดี จานนี้มีรสเปรี้ยวหวาน คล้ายต้มส้มของภาคกลาง จึงทำให้กินปลาที่มีโปรตีนได้อร่อย และไม่มีไขมันให้กังวลใจ

 ส่วนผสม

ปลากระบอกตัวขนาดกลาง           500 กรัม

น้ำส้มสายชูตาลโตนด หรือน้ำส้มโหนด  ½    ถ้วย

ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ                 1     ชิ้น

ตะไคร้บุบ                            30   กรัม

หอมแดงบุบ                         40   กรัม

พริกขี้หนูบุบ                         5     กรัม

น้ำตาลแว่น                           20   กรัม

เกลือ                                     1     ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ตั้งน้ำสะอาด 5 ถ้วย ใส่ตะไคร้ ขมิ้น และหอมแดง บนไฟแรงจนเดือด ใส่ปลากระบอกลงไปต้มจนสุก ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล และเกลือ ใส่พริกขี้หนู รอให้เดือดอีกครั้ง ตักเสิร์ฟร้อนๆ

ภาค เหนือ

ผักกาดจอ

ความเป็นมา ผักกาดจอหรือจอผักกาด เป็นอาหารที่ใช้ผักกวางตุ้งที่กำลังออกดอกในการปรุง นิยมรับประทานกันแพร่หลายในทุกจังหวัดของภาคเหนือ สูตรผักกาดจอมีความแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น   คุณค่าทางโภชนาการ ผักกวางตุ้งมีแคลเซียมสูงช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ช่วยบำรุงและรักษาสายตา เสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง   ส่วนผสม ผัดกาดกวางตุ้งหั่นท่อน                    2        กิโลกรัม กระดูกซี่โครงหมู หั่นเป็นชิ้น              1/2     กิโลกรัม หอมแดง                                     30      กรัม กระเทียม                                    20      กรัม กระเทียมสับ                                2        ช้อนโต๊ะ กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าสับ                                    1        ช้อนโต๊ะ เกลือ                                          1        ช้อนโต๊ะ มะขามเปียก                                1        ถ้วย น้ำมันพืช                                    3        ช้อนโต๊ะ พริกแห้งทอด                               5        เม็ด วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใส่ซี่โครงหมูลงไปต้มจนนุ่ม โขลกกระเทียม หอมแดง กะปิ เกลือ ปลาร้าสับ ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว จากนั้นใส่ลงไปในหม้อต้มรอจนเดือดอีกครั้ง ใส่ผักกวางตุ้งลงไป ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก ชิมรส ตั้งจนเดือดอีกครั้งปิดไฟ จากนั้นนำกระเทียมสับไปเจียวให้เหลืองหอม โรยหน้าพร้อมพริกแห้ง    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ยำปลาอินทรีเค็ม

    ความเป็นมา ด้วยความที่พื้นที่ภาคใต้ติดกับทะเลจึงมีอาหารทะเลมากรวมทั้งปลาอินทรี จึงนำมาทำปลาเค็มเพื่อเก็บไว้กินได้นาน การนำมาทอด และยำโดยใส่หอมซอย พริกขี้หนู น้ำมะนาว จึงเป็นวิธีการปรุงง่าย ๆ อย่างหนึ่งที่กินได้อร่อย   คุณค่าทางโภชนาการ ปลาอินทรีเค็มมีโปรตีนมากกว่าปลาสดในปริมาณที่เท่ากันเนื่องจากน้ำที่ระเหยไป แต่มีโซเดียมมากเราจึงกินได้น้อย การนำมายำให้มีรสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม และมีหอมแดงซอยทำให้กินได้อร่อย หอมแดงมีคุณสมบัติช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ป้องกันการแข็งตัวของเลือด และในยาแผนโบราณใช้แก้หวัดคัดจมูกได้   ส่วนผสม ปลาอินทรีเค็มทอด               100    กรัม หอมแดงซอยบาง                 30      กรัม พริกขี้หนูซอย                        3        กรัม น้ำมะนาว                                1        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                   1/2     ช้อนชา วิธีทำ โรยหอมแดง พริกขี้หนู น้ำตาล น้ำมะนาว บนชิ้นปลา คลุกรวมกันก่อนรับประทาน    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงโฮ๊ะ

ความเป็นมา คำว่า “โฮ๊ะ” แปลว่า รวม คือการนำเอาอาหารหลายๆ อย่างมารวมกัน แต่ก่อนแกงโฮะมักจะทำจากอาหารที่เหลือหลายๆ อย่าง โดยจะมีความแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น แต่สมัยนี้ใช้วัตถุดิบที่สดใหม่ในการปรุงเพื่อให้มีคุณค่าทางโภชนาการมากยิ่งขึ้น                               คุณค่าทางโภชนาการ แกงโฮ๊ะ มีคุณค่าทางโภชนาการมากมายจากวัตถุดิบหลากหลายที่ผสมรวมกันเช่น ขมิ้นสดช่วยในการขับลม มะเขือพวงมีสารเพกติน ที่ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยโรคเบาหวาน โดยสารนี้จะมีหน้าที่ช่วยเคลือบผิวในลำไส้ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวผ่านลำไส้ได้ช้า จึงช่วยดูดซึมแป้งและน้ำตาลที่ย่อยแล้วได้ช้าลง ทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดคงที่   ส่วนผสม เนื้ออกไก่หั่นชิ้นบาง                        150    กรัม หมูสามชั้นหั่นชิ้นบาง                      200    กรัม มะเขือเปราะผ่าสี่                          100    กรัม หน่อไม้ดอง                                  200    กรัม มะเขือพวง                                  50      กรัม วุ้นเส้นแช่น้ำจนนิ่มหั่นท่อน               150    กรัม ถั่วฝักยาวหั่นท่อน                          100    กรัม ยอดใบตำลึงเด็ด                            100    กรัม ผักชีหั่นท่อน                                  3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมหั่นท่อน                             3        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งหั่นท่อน                            3        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแดงบุบ                            5        กรัม น้ำปลา                                           3        ช้อนโต๊ะ น้ำมันสำหรับผัด ส่วนผสมพริกแกง พริกชี้ฟ้าแห้ง                                8        เม็ด เกลือป่น                                       1        ช้อนชา ตะไคร้ซอย                                   2        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                3        ช้อนโต๊ะ ขมิ้นสดซอย                                  1        ช้อนชา กะปิ                                               1        ช้อนชา


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire