SLider section

น้ำพริกอ่อง

ภาค เหนือ

  • recipe image cover
  • recipe image cover

น้ำพริกอ่อง

ความเป็นมา

น้ำพริกอ่องมีมะเขือเทศเป็นส่วนผสมหลัก เป็นอีกหนึ่งน้ำพริกของชาวล้านนาที่นิยมรับประทานกันอย่างแพร่หลาย  ลักษณะเด่นของน้ำพริกอ่อง คือ มีรสชาติที่ครบ ทั้งเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด นิยมรับประทานกับผักสดหรือผักต้มก็ได้

 

คุณค่าทางโภชนาการ

มะเขือเทศช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง และมีวิตามินเอมีส่วนช่วยในการบำรุงสายตา

 

ส่วนผสม

มะเขือเทศผลเล็ก                 200    กรัม

เนื้อหมูสับละเอียด                300    กรัม

น้ำมันพืช                                2        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                    2        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอม ผักชีหั่นหยาบ           3        ช้อนโต๊ะ

ส่วนผสมพริกแกง

พริกชี้ฟ้าแห้ง                      8        เม็ด

กระเทียม                            10      กรัม

เกลือป่น                              1        ช้อนชา

หอมแดงซอย                      30      กรัม

ถั่วเน่าชนิดแผ่นย่างไฟ        20      กรัม

รากผักชี                               1        ช้อนโต๊ะ

กะปิ                                      1        ช้อนชา

 

วิธีทำ

ปั่นหรือตำส่วนผสมพริกแกงจนละเอียด นำลงไปผัดให้มีกลิ่นหอมใส่หมูสับผัดจนสุก ใส่มะเขือเทศลงไปผัดจนสุกนุ่มและเริ่มแห้งลงเล็กน้อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมรส เมื่อได้ที่ดีแล้วตักขึ้นโรยต้นหอมและผักชี เสิร์ฟ

 

 

ภาค อีสาน

เสือร้องไห้

ความเป็นมา เสือร้องไห้ อาจเรียกได้ว่าเป็นสเต๊กในแบบอีสาน เพราะเป็นการย่างเนื้อที่คล้ายๆกับเสต็กของเมืองนอก แต่ของชาวอีสานจะใช้เนื้อวัวส่วนท้องที่ติดมันเล็กน้อย มาหมักกับเครื่องเทศเพื่อเพิ่มรสชาติ และทานคู่กับน้ำจิ้มแจ่ว   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อวัวเป็นแหล่งโปรตีน เสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายและช่วยซ่อมเซมร่างกานส่วนที่สึกหรอ ส่วนผสม เนื้อวัว                                   400    กรัม ซีอิ้ว                                      3        ช้อนโต๊ะ พริกไทย                               ½       ช้อนชา น้ำปลา                                  1        ช้อนชา ส่วนผสมน้ำจิ้ม น้ำปลา                                  1/3     ถ้วยตวง น้ำ                                         1/3     ถ้วยตวง น้ำมะนาว                               1/3     ถ้วยตวง หอมแดงซอย                        15      กรัม ผักชีซอย                                1        ช้อนชา ข้าวคั่ว                                   1        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                                  2        ช้อนชา วิธีทำ หมักเนื้อวัวกับซีอิ๊ว พริกไทย และน้ำปลาเข้าด้วยกัน พักไว้ 3-4 ชั่วโมง ทำน้ำจิ้มโดยผสม น้ำปลา น้ำสะอาด น้ำมะนาว เข้าด้วยกัน ใส่ข้าวคั่ว พริกป่น หอมแดง และผักชี คนให้เข้ากัน พักไว้ จากนั้นนำเนื้อที่หมักไว้ไปย่างให้ได้ระดับกึ่งสุกกึ่งดิบ นำมาหั่นจิ้มกับน้ำจิ้ม  


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงเผ็ดหมูต้นข่าอ่อน

ความเป็นมา คนท้องถิ่นมักจะปลูกพืชผักสวนครัวไว้หลังบ้านเพื่อนำมาทำอาหารได้ง่าย พืชที่ปลูกมักจะกินบ่อยๆ เช่น พริก ข่า ตะไคร้ และใบมะกรูด ข่ามักจะใช้เหง้าแก่มาดับกลิ่นคาวโดยเฉพาะปลา ต้นข่าอ่อนจะมีลำต้นยาวและเหง้าอ่อน ที่นิยมนำมาทำอาหารทั้งแกงส้มและแกงเผ็ด   คุณค่าทางโภชนาการ ข่าอ่อนมีรสเผ็ดไม่มาก และมีสรรพคุณเป็นยาที่ใช้ขับลมในลำไส้ แก้ท้องอืด ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้ และยังมีกากใยที่ช่วยขับถ่ายได้ดี เหง้าอ่อน 100 กรัมให้พลังงาน 20 กิโลแคลอรี มีฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม วิตามินซี 23 มิลลิกรัม เมื่อนำมาแกงกะทิกับหมูและใส่น้ำพริกแกงจึงให้ทั้งโปรตีนและไขมัน   ส่วนผสม เนื้อหมูหั่น                             300    กรัม ต้นข่าอ่อนหั่นเป็นชิ้น             100    กรัม น้ำพริกแกง                             ¼       ถ้วย หัวกะทิ                                    1        ถ้วย หางกะทิ                                   2        ถ้วย น้ำปลา                                      2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว                         2        ช้อนชา   ส่วนผสมน้ำพริกแกง พริกขี้หนู 20-30 เม็ด พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กระเทียมหั่น 2 ช้อนโต๊ะ หอมแดงหั่น 2 ช้อนโต๊ะ ตะไคร้ซอย  3 ช้อนโต๊ะ ข่าหั่น 2 ช้อนชา ขมิ้นหั่น 1 ช้อนโต๊ะ กะปิ  2 ช้อนโต๊ะเกลือ 1 ช้อนชา ตำส่วนผสมพริกแกงรวมกันจนละเอียด   วิธีทำ ผัดพริกแกงกับหัวกะทิจนแตกมัน ใส่เนื้อหมูลงผัดพอสุก ใส่ต้นข่าอ่อน หางกะทิ ต้มไฟอ่อนจนเนื้อข่าอ่อนสุก ปรุงรส ยกลง กินกับผักสดต่างๆ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง

  ความเป็นมา บะหมี่เป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวของจีนที่ทำจากแป้งสาลีผสมไข่ เส้นจึงมีสีเหลือง นุ่ม ส่วนผสม เช่น เกี๊ยว หมูแดง ก็ล้วนเป็นอาหารของจีน บะหมี่มาพร้อมกับคนจีนที่อพยพเข้ามาในเมืองไทยและเปิดร้านขาย มีทั้งขายในร้านคูหาเดียวหรือในภัตตาคาร ความอร่อยของเส้นหมี่ต้องนุ่มเหนียวไม่กระด้างหรือแข็งแม้เก็บไว้นาน เกี๊ยวกุ้งเนื้อกุ้งต้องเด้งกรอบ แผ่นเกี๊ยวแป้งต้องบางนุ่ม หมูแดงต้องหอมควันไฟและเนื้อนุ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ บะหมี่หมูแดงส่วนผสมแต่ละชนิดมีคุณค่าอาหารในตัวเอง เช่น เส้นบะหมี่มีคาร์โบไฮเดรทและวิตามินต่างๆ จากแป้งสาลีและไข่  เกี๊ยวกุ้งมีวิตามินบี 12  ไอโอดีน และซิลีเนียมสูง มีแคลเซียมพอสมควร หมูแดงมีโปรตีนและวิตามินชนิดต่างๆ ส่วนผักใบเขียวมีเบต้าแคโรทีน จานนี้แม้ส่วนผสมจะมีอย่างละเล็กละน้อย แต่บะหมี่เกี๊ยวหมูแดง 1 ชามให้พลังงาน 305 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม บะหมี่                                  50      กรัม เกี๊ยวกุ้ง                                 4        ชิ้น หมูแดงหั่นบาง                     30      กรัม ผักกวางตุ้งลวก                    50      กรัม กระเทียมเจียว                       1        ช้อนโต๊ะ น้ำซุป วิธีทำ ลวกผักกวางตุ้งและเส้นบะหมี่ใส่ชามคลุกกับกระเทียมเจียวเล็กน้อยเพื่อไม่ให้เส้นติดกัน ลวกเกี๊ยวกุ้งใส่ วางหมูแดง ตักน้ำซุปราด กินร้อนๆ กับเครื่องปรุงตามชอบ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire