SLider section

น้ำพริกหนุ่ม

ภาค เหนือ

  • recipe image cover
  • recipe image cover

น้ำพริกหนุ่ม

ความเป็นมา

พริกหนุ่ม คือพริกที่ยังไม่แก่จัด มีสีเขียวและมีรสเผ็ด น้ำพริกหนุ่ม เป็นน้ำพริกที่มีลักษณะข้น เป็นอาหารของชาวล้านนาที่รู้จักและนิยมกันอย่างแพร่หลาย นิยมซื้อเป็นของฝากเมื่อมาเที่ยวทางภาคเหนือ รับประทานกับแคบหมูและผักสด

 

คุณค่าทางโภชนาการ

พริกหนุ่มมีสารแคปไซซินเป็นตัวช่วยทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง จึงช่วยในการบำบัดโรคเบาหวานได้ ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์

 

ส่วนผสม

พริกหนุ่ม                   80      กรัม

กระเทียมซอย            2        ช้อนโต๊ะ

หอมแดงซอย             2        ช้อนโต๊ะ

เกลือป่น                     1        ช้อนชา

ผักชีซอย                    1        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

เผา หรือคั่วพริกหนุ่มจนนุ่ม ลอกเปลือกที่ไหม้ออก หั่นเป็นท่อนพักไว้ จากนั้นนำหอมแดงกับกระเทียมตำให้ละเอียด ใส่พริกหนุ่มตำให้แหลกและเข้ากัน ปรุงรสด้วยเกลือ ตักขึ้นเสิร์ฟ โรยหน้าด้วยผักชีซอย

 

 

ภาค กลาง

แกงเผ็ดไก่

ความเป็นมา คนไทยเริ่มใช้กะทิในการทำอาหารโดยดัดแปลงมาจากการใช้นมของพวกอาหรับที่เดินทางมาค้าขายในสมัยอยุธยา แต่เดิมคนไทยมีแต่แกงน้ำใส และมีน้ำพริกแกงที่ใช้สมุนไพรสดมาตำรวมกันเพื่อให้แกงมีรสชาติเข้มข้นขึ้น เมื่อนำเอากะทิมาใช้ผสมในน้ำแกง และใส่สมุนไพรอย่างใบโหระพาเพื่อให้มีกลิ่นสดชื่น จึงทำให้กลายเป็นแกงที่มีรสชาติกลมกล่อมน่ากิน คุณค่าทางโภชนาการ แม้แกงไก่จะใช้กะทิที่มีไขมันอิ่มตัวสูงซึ่งอาจจะมีปัญหากับคอเลสเตอรอล แต่ก็มีสมุนไพรจากพริกแกงโดยเฉพาะพริกที่มีรสเผ็ดเพราะมีสารแคปไซซินช่วยขยายช่องจมูกให้ใหญ่ขึ้น จึงช่วยขับเสมหะ และลดการอุดตันของหลอดเลือด มะเขือพวงมีแคลเซียม เหล็ก และฟอสฟอรัสสูง ช่วยลดน้ำตาลในเลือด อีกทั้งยังช่วยในการย่อยอาหาร มะเขือเปราะที่มีกากใยที่ช่วยระบายท้อง ใบโหระพาที่มีเบต้าแคโรทีนสูง โหระพา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 452.16 ไมโครกรัม แกงเผ็ดไก่จึงไม่ได้เป็นอาหารที่มีไขมันสูงอย่างที่หลายคนกลัว ถ้าเรากินอย่างพอเหมาะ ส่วนผสม กะทิ                                         4     ถ้วย เนื้อไก่                                      300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย มะเขือเปราะ                              100 กรัม มะเขือพวง                                 20   กรัม ใบโหระพา                                50   กรัม พริกชี้ฟ้าหั่นแฉลบ                      10   กรัม น้ำปลา น้ำตาลเล็กน้อย ส่วนผสมน้ำพริกแกงแดง พริกแห้ง 9 เม็ด กรีดเม็ดออกและแช่น้ำจนนุ่ม ตะไคร้ซอยบาง ¼ ถ้วย หอมแดงซอย  ¼ ถ้วย กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ ผิวมะกรูดหั่นฝอย 1 ช้อนชา รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา พริกไทยเม็ด 1 ช้อนชา กะปิ 1 ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว 4 ช้อนชา ยี่หร่าคั่ว 2 ช้อนชา ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด วิธีทำ    ผัดเครื่องแกงกับกะทิเล็กน้อยจนหอม ใส่เนื้อไก่ลงไปผัดให้ผิวด้านนอกสุกขาว จากนั้นในกะทิลงไป เติมน้ำสะอาดเล็กน้อยต้มจนเริ่มเดือดและกะทิแตกมัน ใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาล ชิมรส เมื่อต้องการเสิร์ฟให้ใส่ใบโหระพา พริกชี้ฟ้าแดง ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ  


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

หมูสะเต๊ะ

ความเป็นมา หมูสะเต๊ะ เป็นอาหารปิ้งย่างที่คาดว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเนื้อสะเต๊ะ แต่ในประเทศไทยที่มีคนจีนมากและไม่นิยมกินเนื้อวัวจึงเปลี่ยนเป็นเนื้อหมู ส่วนผสมที่ใช้หมักเนื้อก็ยังมีลูกผักชี ยี่หร่า ขมิ้นหรือผงกะหรี่  และร้านขายหมูสะเต๊ะอร่อยๆ มักเป็นคนจีน หมูสะเต๊ะเป็นของว่างที่กินได้ตลอดวัน และนิยมสั่งกินก่อนอาหารมื้อหนัก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อหมูมีวิตามินบี 12 และอุดมไปด้วยวิตามินแร่ธาตุต่างๆ มีโปรตีนที่ช่วยให้เด็กเจริญเติบโตได้เต็มที่ และช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย เนื้อสะเต๊ะจะอร่อยเมื่อมีมันหมูติดไปด้วยเล็กน้อย เพราะจะทำให้เนื้อนุ่มและไม่กระด้าง แต่ควรระวังไม่กินมันหมูมากเกินไปเพราะร่างกายอาจจะรับไขมันเกินความจำเป็น   ส่วนผสม เนื้อหมูสันนอกหั่นเป็นชิ้นยาวกว้าง      1        กก. กะทิ                                          1        ถ้วย   เครื่องสำหรับหมักหมู ลูกผักชีป่น 1 ช้อนโต๊ะ ยี่หร่าป่น 1 ช้อนชา น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ ผงกะหรี่ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ หมักหมูและเสียบไม้พักไว้ในตู้เย็นอย่างน้อย 3 ชั่วโมง นำหมูสะเต๊ะย่างไฟ ขณะย่างพรมกะทิไปด้วยเพื่อไม่ให้แห้ง พอสุกใส่จาน เสิร์ฟพร้อมน้ำจิ้มและอาจาด   ส่วนผสมน้ำจิ้มและวิธีทำ กะทิ 3 ถ้วย น้ำพริกแกง ½ ถ้วย ถั่วลิงสงโขลกละเอียด 1/3 ถ้วย น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปึก 2 ช้อนโต๊ะ น้ำส้มมะขาม 2 ช้อนโต๊ะ เคี่ยวกะทิให้พอแตกมัน ใส่น้ำพริกลงไปผัดจนหอม ใส่ถั่วลิสง น้ำปลา น้ำตาล น้ำส้มมะขาม เคี่ยวต่อจนข้น ชิมรส ส่วนผสมอาจาดและวิธีทำ น้ำส้มสายชู 1/3 ถ้วย น้ำตาลทราย ½ ถ้วย เกลือป่น 2 ช้อนชา แตงกวาผ่าสี่หั่น 2 ลูก หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ พริกชี้ฟ้าหั่นขวาง ½ เม็ด ผสมน้ำส้มสายชู น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟ พอทุกอย่างละลายยกลง พักไว้ให้เย็น จัดแตงกวา หอมแดง พริกชี้ฟ้าใส่ชาม ราดน้ำอาจาด


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

แจ่วฮ้อน

  ความเป็นมา แจ่วฮ้อน หรือสุกี้อีสาน มีวิธีทำเหมือนกับสุกี้ของภาคกลาง แต่จะใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นเพื่อรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวกินคู่กับน้ำจิ้มแจ่วรสแซ่บตามสไตล์ของคนอีสาน   คุณค่าทางโภชนาการ แจ่วฮ้อนมีส่วนผสมที่มีประโยชน์ เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ที่ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี   ส่วนผสม เนื้อสัตว์ตามชอบ เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลาหมึก น้ำซุปกระดูกหมู              1        ถ้วยตวง ข่าซอยละเอียด               15      กรัม ตะไคร้หั่นท่อน                30      กรัม รากผักชีทุบ                     10      กรัม ใบมะกรูด                          3        ใบ เกลือป่น                             1        ช้อนชา ใบผักชีฝรั่งซอย                15      กรัม ต้นหอมหั่น                       20      กรัม ใบโหระพา น้ำปลา น้ำตาลทราย ส่วนผสมน้ำจิ้มแจ่ว พริกป่น                        1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                         2        ช้อนโต๊ะ ข้าวคั่ว                           2        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก              2        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                           1        ช้อนชา วิธีทำ ทำน้ำจิ้มแจ่วโดยผสมส่วนผสมทั้งหมดเข้าด้วยกัน คนให้น้ำตาลละลายพักไว้ จากนั้นตั้งน้ำซุปกระดูกหมูบนไฟกลาง ใส่ข่า ตะไคร้ รากผักชี ใบมะกรูด ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำปลา น้ำตาลทราย จนน้ำซุปเดือด ใส่เนื้อสัตว์ ต้มจนเนื้อสัตว์สุกดี ใส่ผักชีฝรั่ง และต้นหอม ยกเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire