SLider section

น้ำพริกมะขามสด

ภาค กลาง

  • recipe image cover

น้ำพริกมะขามสด

ความเป็นมา

น้ำพริกเนื้อข้นที่ใช้ฝักมะขามอ่อนซึ่งยังไม่มีเม็ดมาตำ รสจะเปรี้ยวจี๊ด แต่เมื่อตำรวมกับกุ้งแห้ง กะปิที่มีรสเค็ม กระเทียม ปรุงให้มีรสเปรี้ยว เค็ม หวานจากพริกและน้ำตาลปึก น้ำพริกถ้วยนี้จึงมีรสกลมกล่อม เปรี้ยวนำ และทำกินกันทั่วไปในแถบที่มีต้นมะขามขึ้น น้ำพริกมะขามจึงจัดเป็นน้ำพริกพื้นบ้านที่หาง่าย ทำไม่ยาก และกินกันเกือบทุกบ้าน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

มะขามเป็นพืชที่นำมากินและใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ฝักมะขามมีวิตามินซีพอสมควร มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อนๆ และลดความร้อนในร่างกาย มีแคลเซียมตามธรรมชาติที่ไปช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง  มะขามสด 100 กรัม มีแคลเซียม 429 มิลลิกรัม และวิตามินซี 44 มิลลิกรัม

 

ส่วนผสม

มะขามอ่อน                        80      กรัม

กุ้งแห้งตำละเอียด             20      กรัม

กะปิเผาไฟ                         1        ช้อนโต๊ะ

กระเทียม                           3        กรัม

พริกขี้หนูเขียว แดง           5        กรัม

น้ำปลา                               2        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลปึก                          2        ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

ตำกะปิกับกระเทียมให้ละเอียด ใส่มะขามอ่อนตำจนแหลก ใส่พริกขี้หนูตำพอแหลก ใส่กุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ คลุกเคล้าให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่กับผักสด

ภาค อีสาน

ข้าวจี่

    ความเป็นมา ข้าวจี่เป็นอาหารพื้นบ้านที่นิยมรับประทานกันทั้งในภาคอีสานและภาคเหนือ เพราะทั้งสองภาคนี้นิยมทานข้าวเหนียวเป็นหลัก คนอีสานจึงนำข้าวเหนียวมาปิ้ง กลายเป็นข้าวจี่อาหารว่างที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย   คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวเหนียวมีคาร์โบไฮเดรตช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งยังมีวิตามินและแร่ธาตุต่างๆที่ร่างกายต้องการ เช่นธาตุเหล็ก และกรดโฟลิค มีสรรพคุณในการสร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดสมบูรณ์   ส่วนผสม ข้าวเหนียวนึ่ง            500    กรัม กะทิ                           1/2     ถ้วย ไข่ไก่                          2        ฟอง เกลือ                           1/2     ช้อนชา   วิธีทำ ผสมกะทิและเกลือ ใส่ลงในชามข้าวเหนียว นวดให้เข้ากันปั้นข้าวเหนียว แล้วเสียบไม้นำไปย่างไฟอ่อนๆ ให้เกรียมเล็กน้อยพักไว้จากนั้นตีไข่ไก่ให้เข้ากัน นำข้าวจี่ชุบไข่นำไปย่างไฟอ่อนๆ อีกครั้ง ให้เป็นสีเหลืองสวย    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ผัดเปรี้ยวหวานกุ้งหมู

    ความเป็นมา ผัดเปรี้ยวหวานเป็นอาหารที่ทั้งชาวไทยและชาวจีนนิยมกัน ชาวจีนมักจะผัดผักปรุงรสให้เปรี้ยวหวานและนำมาราดปลาทอด แต่สำหรับชาวไทยจะผัดกับกุ้งและหมู จุดเด่นของอาหารจานนี้คือ ต้องปรุงรสเปรี้ยวด้วยน้ำส้มสายชู ซึ่งเป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวในอาหารจีน และต้องปรุงรสหวานจากน้ำตาลทรายเท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ รสเปรี้ยวและหวานทำให้กินอาหารจานนี้ได้อร่อยขึ้น หมูและกุ้งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีหอมหัวใหญ่เมื่อกินสดจะช่วยลดคอเลสเตอรอลได้ แต่ไม่ว่าจะกินดิบหรือสุกสามารถช่วยต้านผลร้ายของอาหารมันๆ ที่มีต่อเลือดได้ เพราะมีสารช่วยป้องกันเลือดแข็งตัว และอาจเพิ่มอัตราเร่งการสลายตัวของลิ่มเลือดได้   ส่วนผสม เนื้อหมู กุ้ง รวมกัน               120    กรัม กระเทียมบุบ                        5        กรัม น้ำซุปประมาณ                     1        ถ้วย แตงกวาหั่นชิ้นใหญ่             80      กรัม หอมหัวใหญ่                        80      กรัม พริกหยวกหรือพริกหวาน     50      กรัม ต้นหอมหั่นเป็นชิ้นยาว           20      กรัม น้ำส้มสายชู                             3        ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2        ช้อนโต๊ะ แป้งมันสำปะหลังใส่น้ำเล็กน้อย วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะ พอร้อน เจียวกระเทียมให้หอม ใส่กุ้ง และหมูรวนพอสุกใส่แตงกวา หอมหัวใหญ่ พริกหยวก ผัดพอเข้ากัน ใส่น้ำซุป ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู น้ำตาล น้ำปลา พอเดือดใส่แป้งมันผสมน้ำ ผัดให้พอข้นเหนียว ใส่ต้นหอม ตักใส่จานเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   คุณค่าทางโภชนาการ จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย   ส่วนผสม กะทิ                                         2     ถ้วย เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                                  5     กรัม วิธีทำ ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire