SLider section

น้ำพริกตาแดง

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

น้ำพริกตาแดง

 

 

ความเป็นมา

น้ำพริกตาแดงของภาคเหนือสมัยก่อนนิยมใส่ถั่วเน่าแข็งลงไปด้วย แต่ปัจจุบันหาถั่วเน่าได้ยากจึงไม่ได้ใส่ น้ำพริกตาแดงจะมีลักษณะข้นเหนียว เหมาะกับใช้ข้าวเหนียวจิ้มทานคู่กับผักสด

 

คุณค่าทางโภชนาการ

น้ำพริกตาแดงมีสรรพคุณจากกระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย หอมแดง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ บำรุงหัวใจ พริกแห้งช่วยทำให้เจริญอาหาร ลดเสมหะ ขับปัสสาวะ และยังช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย

 

ส่วนผสม

พริกแห้งเม็ดใหญ่                       ½       ถ้วย

กระเทียม                                    60      กรัม

หอมแดง                                     60      กรัม

กะปิ                                            1        ช้อนโต๊ะ

ปลาแห้ง                                     2        ถ้วย

น้ำตาลปี๊บ                                   4        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                        ¼       ถ้วย

มะขามเปียกแกะเม็ดออกสับละเอียด   ¼       ถ้วย

 

วิธีทำ

โขลกพริกแห้งให้ละเอียด ใส่กระเทียม หัวหอม กะปิ โขลกต่อไปพอแหลกแล้วจึงใส่ปลาแห้ง มะขามเปียกสับละเอียด โขลกให้เข้ากันดีพร้อมปรุงรสด้วยน้ำตาล น้ำปลา ตั้งกระทะใส่น้ำมันเมื่อน้ำมันร้อนจัดตักน้ำพริกลงผัดให้หอมใช้ไฟอ่อน ผัดจนทั่วกันดี ตักขึ้นเสิร์ฟพร้อมผักสด

 

 

 

ภาค ใต้

แกงไตปลา

ความเป็นมา แกงไตปลาอาหารจานเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของอาหารใต้ ไตปลาทำมาจากการนำพุงปลา และกระเพาะปลาที่มีอยู่มาก เช่น พุงปลาทู พุงปลาลัง มาใส่เกลือหมักดองไว้ ซึ่งถือเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อหมักจนได้ที่ประมาณ 1 เดือน ก็นำมาทำแกง ใส่เนื้อปลา ผัก ที่มีรสชาติเผ็ด เค็ม ร้อนแรง   คุณค่าทางโภชนาการ ไตปลาเป็นของหมักดองที่มีโปรตีนสูง นำมาทำแกงโดยใส่พริกแกงที่มีส่วนผสมของสมุนไพรต่างๆ ซึ่งล้วนมีสรรพคุณช่วยแก้ท้องอืด รสเผ็ดร้อนของพริกช่วยให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น มีไขมันจากปลาซึ่งเป็นไขมันดี และมีวิตามินต่างๆ จากผัก เช่น ฟักทองที่มีวิตามินเอ มะเขือพวงช่วยย่อยอาหาร และข้อเด่นของผักทั้งหมดที่ใส่นี้มีกากใยที่ช่วยระบายท้องได้อย่างดี   ส่วนผสมไตปลาปรุงรส ไตปลา(พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว)             1     ถ้วย ตะไคร้บุบ                            3     ต้น ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ ข่าหั่นแว่น                           60   กรัม พริกไทยเม็ดบุบ                    2     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ต้มไตปลาผสมน้ำแล้วใส่สมุนไพรที่เตรียมไว้ทั้งหมด พอเดือด กรองน้ำไว้ พักไว้ ส่วนผสมพริกแกง กระเทียม 15 กรัม หอมแดง 50 กรัม พริกไทยเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูแห้ง 15 เม็ด พริกชี้หนูสด 15 กรัม ขมิ้นยาว 2 นิ้วบุบ  ตำหรือปั่นทุกอย่างรวมกันจนละเอียด พักไว้ ส่วนผสมแกงไตปลา ไตปลาปรุงรส                       1     ถ้วย ปลาย่างแกะเนื้อ                   1     ถ้วย หน่อไม้หั่น                          1     ถ้วย มะเขือเปราะ                        80   กรัม มะเขือพวง                           ½    ถ้วย ถั่วฝักยาวหั่นสั้น                   ½    ถ้วย ฟักทองหั่น                          80   กรัม น้ำสะอาด                            3     ถ้วย ใบมะกรูดฉีก                        5     ใบ วิธีทำ นำไตปลาปรุงรสละลายกับน้ำตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาย่างแกะเนื้อ หน่อไม้ และฟักทอง เมื่อเดือดอีกครั้งใส่มะเขือเปราะ มะเขือพวง และใบมะกรูดฉีก ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ห่อหมกปลาช่อน

    ความเป็นมา การนึ่งในอาหารไทยนั้นคาดว่าได้รับวิธีนี้มาจากชาวจีน มาผสมผสานกับรสชาติและวัตถุดิบอย่างไทย โดยการใช้น้ำพริกแกงผสมในกะทิและเนื้อปลา คนในอ่างดินเนื้อหยาบเพื่อให้เนื้อปลาค่อยๆ ขูดไปกับอ่างดินและละลายปนไปกับกะทิจนส่วนผสมข้นเพื่อให้เนื้อห่อหมกละเอียด นับเป็นวิธีการทำที่น่ายกย่อง อีกทั้งการใส่กระทงใบตองและผักอย่างใบโหระพาช่วยให้มีกลิ่นหอมชวนกินเมื่อนึ่งเสร็จ   คุณค่าอาหาร ห่อหมกได้โปรตีนจากเนื้อปลาและไขมันจากกะทิไปพร้อมๆ กัน ซึ่งปริมาณไขมันไม่มากเกินไป เนื้อปลายังย่อยง่าย ในน้ำพริกแกงมีพริกและสมุนไพรช่วยแก้ท้องอืดและช่วยย่อย  แม้ว่ากินอิ่มแต่จะไม่รู้สึกแน่นท้อง ส่วนผักให้วิตามินและกากใยได้ดี   ส่วนผสม ปลาช่อนล้างสะอาดหั่นเป็นชิ้น          1        กก. กะทิ                                                    3        ถ้วย หัวกะทิ (สำรับหยอดหน้า )               ½       ถ้วย น้ำพริกห่อหมก                                  ½       ถ้วย ไข่                                                       1        ฟอง น้ำปลา                                               3        ช้อนโต๊ะ ผักรองก้นกระทง เช่น ใบยอ ใบโหระพา ผักกาดขาวลวก กะหล่ำปลีลวก พริกแดงหั่นฝอย ผักชี สำหรับโรยหน้า   วิธีทำ นำหัวกะทิไปตั้งไฟจนเดือด ใส่แป้งข้าวเจ้าละลายน้ำเล็กน้อย คนให้เข้ากันจนข้น พักไว้สำหรับหยอดหน้าเทกะทิใส่อ่างดิน ใส่เนื้อปลา คนให้เข้ากันดี ใส่น้ำพริกคนจนข้นเล็กน้อย ตอกไข่ใส่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา คนจนเข้ากันดีและส่วนผสมข้นหนืดนำผักรองไว้ก้นกระทง ตักส่วนผสมห่อหมกใส่ นำไปนึ่งไฟแรงจนสุกราดกะทิ โรยใบมะกรูด โรยหน้าด้วยพริกชี้ฟ้า ผักชี นึ่งต่อเล็กน้อย เสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire