SLider section

ต้มโคล้งปลาดุกย่าง

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ต้มโคล้งปลาดุกย่าง

 

 

ความเป็นมา

ต้มโคล้งจะคล้ายกับต้มยำ แตกต่างกันที่ต้มโคล้งเพิ่มการใส่น้ำมะขามเปียก และใส่เนื้อปลาเป็นหลัก รวมถึงใส่ใบกะเพราเพื่อเพิ่มความหอม

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ต้มโคล้งเป็นอาหารที่มีสรรพคุณหลากหลายจากสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และใบกะเพรา ที่ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดีหอมแดงช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระบำรุงหัวใจผักชีฝรั่งช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง

 

ส่วนผสม

ปลาดุกย่าง หั่นชิ้น                600    กรัม

พริกขี้หนูสับ                        2        ช้อนโต๊ะ

ตะไคร้หั่นท่อน                    30      กรัม

ข่าหั่นแว่น                           10      กรัม

มะเขือเทศสีดา                    40      กรัม

หอมแดง                             20      กรัม

ใบมะกรูดฉีด                       3        กรัม

ผักชีฝรั่งซอย                       1        ช้อนโต๊ะ

ใบกะเพรา                           10      กรัม

น้ำมะขามเปียก

น้ำปลา

 

วิธีทำ

ตั้งหม้อใส่น้ำบนไฟกลาง ใส่หอมแดง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ต้มจนเดือด ใส่น้ำมะขามเปียกและน้ำปลา คนให้เข้ากัน ใส่ปลาดุกย่าง ต้มต่อให้เดือดใส่ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง และใบกะเพรา ต้มจนเดือดอีกครั้งตักใส่ชามเสิร์ฟ

 

 

ภาค เหนือ

ลาบคั่ว

ความเป็นมา ลาบ เป็นอาหารที่นิยมทำเลี้ยงแขกในงานบุญ งานมงคล ที่เป็นโอกาสพิเศษของชาวล้านนา เนื่องจากคำว่า “ลาบ” ที่พ้องเสียงกับคำว่า “ลาภ” ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายที่ดี เมนูลาบของทางภาคเหนือจะแตกต่างจากลาบของทางภาคอีสานคือใช้การผัดเนื้อสัตว์กับพริกแกง และไม่ใส่ข้าวคั่ว   คุณค่าทางโภชนาการ ลาบคั่วเป็นอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูง  นอกจากนั้นเครื่องปรุงต่างๆ เช่น กระเทียม ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักชีฝรั่ง ยังให้วิตามิน เกลือแร่ เช่นธาตุเหล็ก และแคลเซียม ช่วยขับลม และย่อยอาหารได้ดี   ส่วนผสม เนื้อหมูสับ                                   300    กรัม ไส้ตัน                                           100    กรัม ตับหมู                                          100    กรัม หนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก             100    กรัม ต้นหอมหั่นหยาบ                         3        ช้อนโต๊ะ ผักชีหั่นหยาบ                              3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                         3        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                                2        ช้อนโต๊ะ น้ำมันพืช                                     4        ช้อนโต๊ะ ผักชีฝรั่งซอย                              2        ช้อนโต๊ะ ผักไผ่หั่นหยาบ                          4        ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดซอย                            2        ช้อนโต๊ะ ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งเผา                       5        เม็ด กระเทียมเผา                      10      กรัม หอมแดงเผา                       30      กรัม ข่าหั่นละเอียดคั่ว                  1        ช้อนชา ตะไคร้หั่นละเอียด                1        ช้อนโต๊ะ เกลือป่น                               1        ช้อนชา ลูกผักชีคั่ว                            1        ช้อนชา วิธีทำ ตำหรือปั่นพริกแกงให้ละเอียดนำไปคลุกเคล้ากับเนื้อหมูสับ ไส้ตันหั่นชิ้น ตับหมูหั่นชิ้น และหนังหมูลวก จากนั้นนำกระเทียมสับลงไปเจียวกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดให้สุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่ผักชีฝรั่ง ผักไผ่ และใบมะกรูด คลุกเคล้าให้ทั่ว ตักขึ้นโรยหน้าด้วยผักชีต้นหอม


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ต้มยำกุ้ง

ความเป็นมา แกงน้ำใสที่ได้กลิ่นหอมจากน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรไทย เป็นเมนูง่ายๆ ที่สะท้อนความเป็นไทยได้อย่างเด่นชัด ส่วนผสมมีเพียงกุ้ง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก และน้ำมะนาว ก็สามารถปรุงได้รสเปรี้ยว เค็ม เผ็ด ได้อย่างกลมกล่อม ผู้ใหญ่บางท่านบอกว่าในอดีต สีแดงในต้มยำกุ้งเป็นมันกุ้งของกุ้งแม่น้ำที่ใช้มาทำต้มยำ ต่อมาเมื่อกุ้งหายาก พ่อครัวคนจีนจึงใส่น้ำพริกเผาให้มีมันลอยหน้าคล้ายมันกุ้ง อย่างไรก็ตามต้มยำกุ้งได้กลายเป็นอาหารไทยที่รู้จักกันไปทั่วโลก   คุณค่าทางโภชนาการ ต้มยำกุ้งเป็นอาหารจานชุมนุมสมุนไพรที่ทำให้รู้สึกสดชื่น กระชุ่มกระชวย  สมองปลอดโปร่ง เพราะข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ล้วนมีน้ำมันหอมระเหยที่อบอวลอยู่ในจานอาหาร และมีสรรพคุณช่วยขับลม ให้ความสดชื่น  ผสานไปกับรสหวานของเนื้อกุ้งและเห็ด  กุ้งเป็นอาหารทะเลที่มีโปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำ มีวิตามินบี 12 ที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และป้องกันโรคโลหิตจาง   ส่วนผสม กุ้งแม่น้ำหรือกุ้งสดแกะเปลือก ผ่าหลัง   200  กรัม เห็ดฟาง                                    1     ถ้วย ข่าบุบหรือหั่นแว่น                      20   กรัม ตะไคร้บุบ                                  80   กรัม ใบมะกรูด                                  5     กรัม พริกขี้หนู                                  5     กรัม น้ำปลา น้ำมะนาว ผักชีสำหรับโรยหน้า วิธีทำ ตั้งน้ำสะอาด หรือน้ำซุป ใส่ข่า ตะไคร้ ลงไปต้มให้เดือด และมีกลิ่นหอม จากนั้นใส่เห็ดฟาง และกุ้ง ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่พริกขี้หนู จากนั้นยกลงจากเตาเติมน้ำมะนาว ชิมรสตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงพริกหอยแครงใบยี่หร่า

ความเป็นมา           คำว่า “แครง” หรือ “คราง” มาจากภาษาชวา – มลายู ที่ใช้เรียกหอยประเภทหอยแครงว่า “เคอรัง” หรือ “ครัง” จนในที่สุดเพี้ยนมาเป็น แครง หอยแครงมีมากตามชายฝั่งตื้นๆ ที่เป็นโคลน     หรือโคลนเหลวพบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัตตานี ซึ่งชาวบ้านหาได้ไม่ยาก นำมาทำอาหารได้หลายชนิดทั้งลวกและแกง   คุณค่าทางโภชนาการ หอยแครงเป็นหอยที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงเลือด บำรุงไขข้อ นำมาแกงกับน้ำพริกแกงใต้ที่มีรสเผ็ดร้อนช่วยให้ร่างกายสูบฉีดเลือดได้ดี และยังใส่ใบยี่หร่าที่มีรสร้อนแรง ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม อีกด้วย   ส่วนผสม เนื้อหอยแครง            150    กรัม น้ำพริกแกงใต้            ¼       ถ้วย กะปิ                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                        2        ช้อนโต๊ะ ใบยี่หร่า                      50      กรัม น้ำ                                2        ถ้วย วิธีทำ ผสมน้ำพริกแกงกับกะปิให้เข้ากัน ตั้งน้ำพอเดือดใส่พริกแกง พอเดือดใส่หอยแครง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำต้องขลุกขลิก ก่อนยกขึ้นใส่ใบยี่หร่า    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire