SLider section

ต้มกะทิหน่อไม้กุ้งสด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ต้มกะทิหน่อไม้กุ้งสด

ความเป็นมา

คนใต้ชอบกินแกงกะทิแต่ไม่นิยมเป็นแกงเผ็ดเสมอไป แกงนี้จึงเป็นแกงกะทิรสหวานตามธรรมชาติ ที่ช่วยให้หวานขึ้นจากหน่อไม้ที่มีมากในฤดูฝน ใส่เนื้อสัตว์อย่างกุ้งสดที่ช่วยให้กะทิหอมหวานยิ่งขึ้น และใส่สะตอเนื้อนุ่มกรุบรสมัน เพิ่มความอร่อยได้อีกหลายเท่าตัว

 

คุณค่าทางโภชนาการ

หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ที่มาพร้อมกับฤดูฝน พอฝนโปรยก็จะแทงหน่อข้างๆ ต้นไผ่ เนื้อจะชุ่มน้ำ รสหวาน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสพอสมควร มีกากใยสูงที่ช่วยในการขับถ่าย แกงนี้เป็นแกงกะทิรสหวานตามธรรมชาติที่ใส่สะตอเม็ดเขียวที่ให้ทั้งพลังงานและโปรตีน สะตอ 100 กรัมมีโปรตีนถึง 8 กรัม และเมื่อใส่กุ้งสดซึ่งเป็นโปรตีนจากเนื้อสัตว์ แกงนี้จึงมีโปรตีนทั้งจากพืชและสัตว์ครบถ้วน

 

ส่วนผสม

กุ้งสด                                       200    กรัม

หน่อไม้สดหั่นเป็นชิ้นบาง        200    กรัม

สะตอ                                        80      กรัม

กะทิ                                           2        ถ้วย

กระเทียมบุบ                             10      กรัม

เกลือ น้ำตาล อย่างละเล็กน้อย

 

วิธีทำ

ลวกหน่อไม้เตรียมไว้ นำกะทิขึ้นตั้งไฟใส่กระเทียม เมื่อกะทิเดือดใส่หน่อไม้ลงไป ใส่สะตอ รอให้เดือดอีกครั้งใส่กุ้ง ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำตาล

 

 

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว

 ความเป็นมา ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วเป็นอาหารจีนประเภทเดียวกับก๋วยเตี๋ยวราดหน้าที่มักจะขายคู่กัน แต่ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วจะต้องผัดให้เส้นหอมซีอิ๊วที่ใส่ลงไป และสีดำของซีอิ๊วเคลือบเส้นให้ทั่ว เส้นต้องไม่ติดกันมีน้ำมันเคลือบบางๆ บนเส้นที่ผัดจนหอม ใส่ไข่ลงไปขณะผัด และใส่ผักคะน้าที่ต้องผัดจนนุ่มแต่ผักยังต้องเขียวอยู่   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊วให้พลังงานค่อนข้างสูง ผัดซีอิ๊วใส่ไข่ 1 จาน ให้พลังงาน 520 กิโลแคลอรี เพราะการผัดเส้นให้มันเงาและมีกลิ่นหอมกระทะต้องใส่น้ำมันมาก จึงทำให้ได้ไขมันมากไปด้วย ในขณะเดียวกันก็ได้โปรตีนวิตามินจากไข่ เนื้อหมู และได้วิตามินเกลือแร่จากผักคะน้า   ส่วนผสม เส้นใหญ่                  120    กรัม เนื้อหมู                     50      กรัม ผักคะน้าหั่น              50      กรัม ซีอิ๊วดำ                      1        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊วขาว                    2        ช้อนชา ไข่ไก่                          1        ฟอง น้ำมันสำหรับผัด   วิธีทำ ใส่น้ำมันในกระทะ ใส่หมูลงรวนพอสุก ใส่ผักคะน้า ใส่เส้นผัดให้เส้นกระจายอย่าติดกัน ใส่ซีอิ๊วดำผัดให้เคลือบเส้น ตอกไข่ใส่ ใส่ซีอิ๊ว ผัดจนทุกอย่างเข้ากัน ตักใส่จาน    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ข้าวผัดกะเพรา

ความเป็นมา ข้าวผัดใบกะเพราเป็นอาหารจานด่วนอย่างง่ายของไทย ซึ่งน่าจะเริ่มเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในยุคที่ทุกคนต้องรีบออกไปทำงานนอกบ้าน มีเวลาน้อยลง จึงต้องกินอาหารที่ไม่ต้องใช้เวลาปรุงนาน อีกทั้งใบกะเพรา พริกสดก็ให้กลิ่นหอม และรสร้อนแรงที่เสริมรสชาติความอร่อย ข้าวผัดกะเพราจึงเป็นอาหารที่ทุกร้านต้องมี และเป็นจานโปรดของคนทุกวัย คุณค่าทางโภชนาการ ใบกะเพรามีน้ำมันหอมระเหยและกลิ่นหอมฉุน มีสรรพคุณที่โดดเด่นคือ ช่วยขับลม แน่นจุกเสียด แก้ท้องอืด มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ใบกะเพรา 100 กรัม มีเบต้าแคโรทีนสูงถึง 7,857 ไมโครกรัม ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกาย ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันการเสื่อมของสายตาในวัยอันควร  และจัดว่าเป็นสมุนไพรที่มีวิตามินซีสูง ใบกระเพรา 100 กรัม มีวิตามินซีถึง 22 มิลลิกรัม ส่วนผสม ข้าวหุงสุก                                  3     ถ้วย หมู/เนื้อ/ไก่สับหยาบ                    300 กรัม กระเทียมสับหยาบ                      2     ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนูสับหยาบ                      1-2  ช้อนโต๊ะ ใบกะเพรา                                 60   กรัม น้ำมัน                                       3     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาล                                     1     ช้อนชา พริกไทยป่น                               1     ช้อนชา วิธีทำ ผัดกระเทียม และพริกกับน้ำมันให้มีกลิ่นหอม จากนั้นใส่เนื้อสัตว์ลงไปผัดจนเริ่มสุก หากต้องการทำเป็นกับข้าวให้ปรุงรสและใส่ใบกะเพราแล้วตักราดข้าว แต่หากต้องการทำเป็นข้าวผัดกะเพราให้ใส่ข้าวหุงสุกลงไปผัดก่อนแล้วจึงปรุงรส จากนั้นเร่งไฟแรงใส่ใบกะเพรา ผัดเร็วๆ จนเข้ากันตักเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

หมูฮ้อง

ความเป็นมา หมูฮ้องทำจากหมูสามชั้นคล้ายกับหมูต้มเค็มที่มีรสหวาน บางคนบอกว่าการกินหมูสามชั้นเป็นอิทธิพลของจีนคล้ายกับพะโล้ แต่หมูฮ้องจะมีน้ำน้อยกว่าและไม่มีไข่ และเต้าหู้ ปรุงรสให้หอมด้วยรากผักชี กระเทียม พริกไทย และใส่อบเชย โป๊ยกั๊ก ซีอิ๊วดำ เครื่องเทศที่เหมือนใส่ในพะโล้   คุณค่าทางโภชนาการ ไขมันในหมูเป็นไขมันอิ่มตัวที่อาจจะมีปัญหากับคนที่มีคอเลสเตอรอลสูง แต่ไขมันในเนื้อหมูช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และเลือดหมุนเวียนได้ดี เนื้อหมูมีโปรตีนและวิตามินบีชนิดต่างๆ ในปริมาณที่สูงมาก มีธาตุสังกะสีในปริมาณมากพอสมควร เนื้อหมู 100 กรัมให้พลังงาน 376 แคลอรี โปรตีน 14.4 กรัม ไขมัน 35.0 กรัม   ส่วนผสม หมูสามชั้น             2     กิโลกรัม กระเทียมบุบ           1/3  ถ้วย รากผักชีหั่นฝอย     ¼    ถ้วย พริกไทยเม็ด         2     ช้อนโต๊ะ น้ำมันหมู              3     ช้อนโต๊ะ อบเชย                  1     แท่ง โป๊ยกั๊ก                  2     ดอก ซีอิ๊วดำ                  6     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลมะพร้าว      2     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด               1     ลิตร ซีอิ๊วขาว                 5     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย          1     ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำพริกไทยเม็ด โป๊ยกั๊ก ให้ละเอียด ตักลงในอ่างผสม ใส่น้ำตาล ซีอิ๊วขาว ซีอิ๊วดำ น้ำมันหมู คนให้น้ำตาลละลาย จากนั้นใส่หมูสามชั้นหั่นชิ้นใหญ่คลุกเคล้าให้เข้ากัน พักไว้ 30 นาที จากนั้นนำลงไปผัดในหม้อหรือกระทะให้หมูเริ่มสุก เติมน้ำสะอาด ใส่อบเชย รากผักชี และกระเทียม ตั้งเคี่ยวจนน้ำงวดลง หมูสุกและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire