SLider section

ตำโคราช

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ตำโคราช

 

ความเป็นมา

ตำโคราช คือส้มตำที่ใส่เครื่องปรุงระหว่างส้มตำไทยและส้มตำลาว คือใส่ทั้งกุ้งแห้งและปลาร้า อาจใส่เส้นขนมจีน ปรุงรสให้หวานขึ้น เนื่องจากโคราชหรือนครราชสีมาเป็นเมืองที่อยู่กั้นกลางระหว่างลาวและสยามจึงเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรมสองชาติเข้าด้วยกัน อย่างไรก็ตาม ตำโคราชไม่ได้ถือกำเนิดมาจากจังหวัดนครราชสีมาแต่ประการใด แม้กระทั่งชาวโคราชเองก็ไม่นิยมรับประทานกัน

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ตำโคราช มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ  มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้าและกุ้งแห้ง

 

ส่วนผสม

มะละกอสับเป็นเส้น               120    กรัม

มะเขือเทศสีดา                      30      กรัม

พริกขี้หนูสด                            8        เม็ด

กระเทียม                                 5        กรัม

ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน            25      กรัม

กุ้งแห้ง                                     1        ช้อนโต๊ะ

ถั่วลิสงคั่ว                                2        ช้อนโต๊ะ

น้ำมะนาว                                1        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                   ½       ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาร้าต้มสุก                     1        ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

ใส่กระเทียมและพริกขี้หนู ลงในครก โขลกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกใส่มะเขือเทศ น้ำมะนาว น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา  น้ำปลาร้าแล้วคลุกให้เข้ากันใส่มะละกอ ตามด้วยถั่วลิสงคั่ว กุ้งแห้งแล้วโขลกเบาๆ คลุกเคล้าให้เข้ากันชิมแล้วปรุงตามชอบ ตักใส่จาน รับประทานพร้อมผักสด

 

 

ภาค ใต้

หลนปูเค็ม

    ความเป็นมา หลน จัดเป็นเครื่องจิ้มอย่างหนึ่งของไทย น้ำขลุกขลิกใส่กะทิ มีรสหวานจากกะทิและน้ำตาลมะพร้าว กินกับผักสดต่างๆ ทางใต้มีพื้นที่ติดทะเลจึงมีปูมากและนำมาทำปูเค็มซึ่งจัดเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งให้เก็บไว้กินได้นาน ใช้เพื่อปรุงรสเค็มในการทำหลนนี้ด้วย   คุณค่าทางโภชนาการ ปูเป็นซีฟู้ดที่มีโพแทสเซียมและสังกะสีสูง ส่วนผสมสมุนไพร เช่น หอม ตะไคร้ พริกขี้หนู ทำให้มีกลิ่นหอมชวนกินแล้ว ยังให้ความรู้สึกสดชื่น และหลนเป็นเครื่องจิ้มที่มีรสจัดจึงทำให้กินผักสดต่างๆ ได้มาก วิตามินและเกลือแร่จึงได้มากจากผักสด เช่น ขมิ้นขาว สายบัว มะเขือเปราะ ที่กินเป็นเครื่องเคียงนี้เอง   ส่วนผสม ปูเค็ม หั่นครึ่ง            5        ตัว หัวกะทิ                       1        ถ้วย หอมแดงซอย             30      กรัม ตะไคร้ซอย                 50      กรัม พริกขี้หนูซอย             5        กรัม น้ำตาลมะพร้าว          3        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ตั้งกะทิพอเดือดใส่หอม ตะไคร้ คนให้เข้ากัน เมื่อเดือดอีกครั้งใส่ปู ปรุงรสด้วยน้ำตาลมะพร้าว พอเดือด ชิมรส กินกับผักสดต่างๆ เช่น ใบบัวบก แตงกวา มะเขือเปราะ เป็นต้น    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

ขนมแตงไทย

    ความเป็นมา ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตง จะมีวิธีทำคล้ายกับขนมกล้วย เป็นอีกหนึ่งเมนูที่ชาวล้านนานิยมรับประทานกัน   คุณค่าทางโภชนาการ แตงไทยมีวิตามินเอสูงมากอีกทั้งยังมีสรรพคุณมากมาย เช่นรับประทานแก้กระหาย ใช้ขับปัสสาวะ บำรุงหัวใจ บำรุงสมอง สามารถบรรเทาอาการไอจากโรคปอด ป้องกันโรควัณโรค แก้โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ   ส่วนผสม แตงไทย                   500    กรัม น้ำตาลทราย             500    กรัม แป้งข้าวเจ้า              400    กรัม แป้งมัน                    100    กรัม มะพร้าว                   1        ถ้วย กะทิ                         3        ถ้วย เกลือป่น                   1        ช้อนชา วิธีทำ ผสมแตงไทย แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน กะทิ เข้าด้วยกัน นวดส่วนผสม และขยำแตงไทยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำตาลทราย นวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลาย ฉีกใบตองกว้าง 6 นิ้ว ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตอง ตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็มวางกรวยขนมในรูของชั้นลังถึง โรยมะพร้าวขูด แล้วนำไปนึ่ง ใช้เวลาประมาณ 20 นาที    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire