SLider section

ตำถาด

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ตำถาด

 

 

ความเป็นมา

ตำถาด คือส้มตำที่มีเครื่องเคียงต่างๆวางไว้ด้วยกัน โดยจัดไว้อยู่ในถาด หรือในภาชนะเดียวกัน เพื่อสะดวกในการรับประทานและเพิ่มรสชาติ เป็นส้มตำที่ดัดแปลงมาเพื่อให้ถูกใจคนที่ชื่นชอบการทานส้มตำ

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ส้มตำไทย เป็นอาหารสุขภาพ ที่เปี่ยมไปด้วยวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ เช่น มะละกอมีเอนไซน์ปาปีน ที่ช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่และลดการเกิดริ้วรอยแห่งวัย นอกจากนี้ยังได้รับประโยชน์ต่างๆจากเครื่องเคียงที่ใส่ลงไป

 

ส่วนผสม

มะละกอดิบสับเป็นเส้น      100    กรัม

มะเขือเทศ                         20      กรัม

มะกอก                                10      กรัม

ปูดอง                                   1        ตัว

น้ำปลา                                  1        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาร้า                               2        ช้อนโต๊ะ

มะนาว                                      1        ลูก

กระเทียม                                  5        กรัม

พริกขี้หนู                                   5        กรัม

มะเขือเปราะ                             10      กรัม

เครื่องเคียงตำถาด

กุ้งต้มสุก                               100    กรัม

ไข่ต้ม                                     1        ฟอง

ไส้กรอกอีสานทอด                120    กรัม

หมูยอ                                      1/2     ถ้วย

แคบหมู                                    1/2     ถ้วย

มะเขือเปราะ                             40      กรัม

ผักสลัด

ขนมจีน

วิธีทำ

โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ใส่ถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบาๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันจัดใส่ถาดไว้ตรงกลางแล้วนำเครื่องเคียงวางโดยรอบ

 

 

ภาค ใต้

ใบเหลียงผัดไข่

ความเป็นมา ผักเหลียง ผักเหมียง หรือ ผักเขรียง เป็นชื่อเดียวกัน แต่เรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ว่ากันว่าอาจจะเพี้ยนมาจากคำว่า เลียง เพราะสมัยก่อนส่วนใหญ่นำมาทำแกงเลียง ผักเหลียงถือเป็นราชินีผักพื้นบ้านของภาคใต้ คนใต้นิยมกินกันทั่วไป ไม่ว่าจะนำไปลวก หรือกินสดอยู่ในถาดผักเหนาะ ผัดน้ำมันกินกับน้ำพริก ใส่แกงเผ็ด แกงส้ม ผักรองห่อหมก และแกงจืดหมูสับ ใบเหลียงผัดไข่เป็นอาหารที่ไม่ได้นิยมกันแต่ในภาคใต้ ปัจจุบันเป็นอาหารใต้ที่นิยมแพร่หลายในกรุงเทพฯ   คุณค่าทางโภชนาการ ใบเหลียงคล้ายกับใบของยางพรารา มีสีเขียวเป็นมันยาวประมาณ 10-20 ซ.ม.เป็นพันธุ์ไม้ป่า พบได้ตามเนินเขาและที่ราบ จัดเป็นผักปลอดสารพิษเพราะไม่มีแมลงและโรครบกวน ใบเหลียงมีรสชาติหวานมันเป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีนอย่างดี มีวิตามินเอสูง ช่วยบำรุงสายตาและป้องกันตามืดมัวในยามดึก ใบเหลียง 100 กรัม ให้พลังงาน 91 กิโลแคลอรี  แคลเซียม 150.5 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ใบเหลียง                      100 กรัม ไข่ไก่                             2     ฟอง กระเทียมสับ                  5     กรัม น้ำมันพืช                        2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                            1     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทราย                   1     ช้อนชา   วิธีทำ ผัดกระเทียมกับน้ำมันพืชให้มีกลิ่นหอม นำใบเหลียงลงไปผัดให้ผักเริ่มสลด จากนั้นเกลี่ยใบเหลียงไว้มุมหนึ่ง ตอกไข่ใส่ลงไปในกระทะ ยีให้ไข่แตกและเริ่มสุก จากนั้นนำใบเหลียงลงมาผัดคลุกกับไข่ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลทราย ตักขึ้นเสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ต้มข่าไก่

ความเป็นมา ไก่ต้มข่าหรือต้มข่าไก่นั้นคล้ายกับต้มยำแต่มีกะทิเป็นส่วนผสม น้ำแกงจึงมีสีขาวนวล ได้ความหอม หวาน มัน จากกะทิ และกลิ่นของสมุนไพรต่างๆ รวมทั้งรสเผ็ดจากพริกขี้หนู ปรุงให้ได้รสเผ็ด เปรี้ยว เค็ม และต้องมีกลิ่นหอมเด่นของข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด และน้ำมะนาวสด คุณค่าทางโภชนาการ แม้ไก่ต้มข่าจะใช้กะทิซึ่งมีไขมันอิ่มตัว แต่สมุนไพรที่ใส่ล้วนมีสรรพคุณที่มีประโยชน์ทั้งสิ้น เช่น ข่า มีวิตามินซีสูง ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้ปวดมวนท้อง ตะไคร้ มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็ก ช่วยขับลม ใบมะกรูดให้กลิ่นสดชื่น บรรเทาอาการวิงเวียน หน้ามืดเป็นลม และยังมีรสเปรี้ยวจากน้ำมะนาวซึ่งให้วิตามินซีเป็นอย่างดี ส่วนผสม กะทิสด               2 ถ้วย เนื้อไก่หั่นชิ้น      150 กรัม เห็ดฟาง              ½ ถ้วย ข่าหั่นบาง            ¼ ถ้วย ตะไคร้บุบ             50 กรัม ใบมะกรูด              5 กรัม พริกขี้หนูบุบ ตามชอบ น้ำปลา น้ำมะนาว ผักชีสำหรับโรยหน้า วิธีทำ ตั้งน้ำกะทิ 1 ถ้วย ผสมน้ำสะอาดจะได้เป็นหางกะทิ นำขึ้นตั้งไฟ ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดลงไปจนเดือดและมีกลิ่นหอม ใส่เนื้อไก่ ตามด้วยเห็ดฟาง ต้มจนไก่สุกดี ใส่น้ำกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา ใส่พริกขี้หนู จากนั้นดับไฟและใส่น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ชิมรสให้ได้เปรี้ยว เค็ม เผ็ด หวานตาม ตักเสิร์ฟ


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

บูดูทรงเครื่องผักสด

ความเป็นมา บูดู เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีปลามาก จึงนำปลามาหมักกับเกลือไว้ประมาณ 8- 15 เดือน คล้ายกับการหมักปลาร้าของทางภาคอีสาน เมื่อหมักได้ที่แล้วจึงนำมาทำอาหารได้หลากหลาย คำว่า “บูดู” มาจากภาษาอินโดนีเซียที่แปลว่า ปลาหมักดอง และเป็นคนนำวิธีการหมักปลามาสู่คนไทยที่อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี น้ำบูดูหมักจากปลากะตักจึงมีชื่อเสียงว่ากลิ่นหอมและรสชาติที่ดี   คุณค่าทางโภชนาการ บูดูทรงเครื่องนี้ใช้ทั้งน้ำบูดูซึ่งเป็นปลาหมักที่มีโปรตีนสูง และยังใส่กุ้งสดและปลาช่วยเสริมโปรตีนให้มากยิ่งขึ้น และยังมีสมุนไพรอย่างเช่นขมิ้นที่ช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ใบมะกรูดที่มีน้ำมันหอมระเหยช่วยบรรเทาอาการวิงเวียน และยังมีรสเผ็ดจากพริก เปรี้ยวจากมะนาว รสจึงเผ็ด เปรี้ยว เค็ม ที่ทำให้กินผักสดที่มีวิตามินต่างๆ ได้อย่างมากมาย   ส่วนผสม น้ำบูดู                          380 กรัม น้ำสะอาด                     2     ถ้วย กุ้งสดสับหยาบ              300 กรัม ปลาย่างฉีกเนื้อให้ละเอียด      200 กรัม หอมแดงซอย                1     ถ้วย ตะไคร้บุบทั้งต้น            30   กรัม ตะไคร้ซอย                   1     ถ้วย ใบมะกรูดซอย               1/2  ถ้วย พริกสดซอย                  ¼    ถ้วย น้ำมะนาว                      ½    ถ้วย น้ำตาลแว่น                   50   กรัม ผักสดต่างๆ  เช่น สะตอ ลูกเนียง แตงกวา มะเขือเปราะ ใบบัวบก ชะอม สำหรับกินร่วมกัน   วิธีทำ ผสมน้ำบูดูกับน้ำเปล่า ใส่ตะไคร้ทั้งต้น ต้มจนเดือด แล้วกรองน้ำไว้ นำน้ำบูดูมาต้มอีกครั้ง ใส่น้ำตาลแว่น กุ้ง ปลาย่าง รอจนกุ้งสุก ยกลงจากเตา พักไว้ให้เย็น ใส่หอมแดง ตะไคร้ ใบมะกรูด พริก น้ำมะนาว คนให้เข้ากัน ปรุงรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวานกินกับผักสดต่างๆ    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire