SLider section

ซุปขนุน

ภาค อีสาน

  • recipe image cover

ซุปขนุน

ความเป็นมา

ขนุนเมื่อสุกแล้วจัดเป็นผลไม้รสหวาน ใช้ใส่ในขนมไทยหลากหลายประเภทแต่ขนุนอ่อนนั้นจัดเป็นผักเครื่องเคียงชนิดหนึ่ง นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก ชาวอีสานนำมาดัดแปลงให้กลายเป็นยำเพื่อเพิ่มรสชาติให้ถูกปากมากยิ่งขึ้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีเมื่อนำมาปรุงเป็นตำขนุน ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย

 

ส่วนผสม

ขนุนอ่อน                      300    กรัม

ข้าวคั่ว                         3        ช้อนโต๊ะ

พริกป่น                        3        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลาร้า                     3        ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                         3        ช้อนโต๊ะ

ต้นหอมหั่น                    2        ช้อนโต๊ะ

ใบสะระแหน่                  10      กรัม

งาคั่ว                             ½       ช้อนโต๊ะ

 

วิธีทำ

นำขนุนอ่อนไปต้มจนสุกนุ่ม ตัดส่วนไส้กลางออกนำไปโขลกให้ละเอียด เติมข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลาร้า โขลกพอเข้ากันชิมรส ให้มีรสเค็มมันนำตักใส่ภาชนะ โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบสะระแหน่ งาคั่ว จัดเสิร์ฟพร้อมผักสด

 

 

ภาค อีสาน

หมูยอทอด

    ความเป็นมา หมูยอเป็นอาหารที่ขึ้นชื่อในภาคอีสานหลายจังหวัด เช่นที่จังหวัดอุบลราชธานีมีหมูยอซึ่งถูกปากและถูกใจจนต้องซื้อเป็นของฝาก หมูยอสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลายแต่หมูยออร่อยๆแค่นึ่งหรือทอดก็เพียงพอแล้ว   คุณค่าทางโภชนาการ หมูยอมีโปรตีนมีประโยชน์ต่อร่างกายอีกทั้งยังมีเครื่องเทศที่มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น พริกไทยมีสาร ชื่อว่า ‘พิเพอรีน” ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถป้องกันอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้   ส่วนผสม หมูยอ น้ำมันพืช   วิธีทำ หั่นหมูยอเป็นชิ้นบางๆ พักไว้ จากนั้นเทน้ำมันลงในกระทะแล้วตั้งไฟให้ร้อน นำหมูยอลงไปทอดจนมีสีเหลืองน่ารับประทาน จัดใส่จานซับน้ำมัน พร้อมเสิร์ฟ      


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น

ความเป็นมา อาหารจานเดียวประเภทต้มตุ๋นของจีน ที่นำเนื้อวัวมาต้มและตุ๋นใส่เครื่องเทศเพื่อกลบกลิ่นเนื้อและทำให้มีกลิ่นหอมชวนกิน ความหวานอร่อยของน้ำซุปมาจากเนื้อ และซีอิ๊วหรือซอสปรุงรส ถ้าได้ซีอิ๊วที่ดี มีกลิ่นหอมก็จะทำให้เนื้อตุ๋นชวนกินมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นจัดเป็นอาหารจานเดียวครบหมู่ ซึ่งใส่ถั่วงอก และผักบุ้งลงไปด้วย เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้าจะใส่ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ก็ได้ตามชอบ เนื้อวัวให้สารอาหารต่างๆ รวมทั้งแร่ธาตุที่มีประโยชน์โดยเฉพาะธาตุเหล็กและสังกะสี จานนี้ถ้ากินในฤดูหนาวน้ำซุปอุ่นๆ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นไปด้วย   ส่วนผสม เส้นก๋วยเตี๋ยว                                500    กรัม เนื้อส่วนท้องหรือเนื้อติดเอ็น          1        กก. รากผักชี                                     40      กรัม กระเทียม                                    30      กรัม พริกไทย                                     2        ช้อนโต๊ะ ข่าแก่บุบ                                     30      กรัม วิสกี้                                              3        ช้อนโต๊ะ น้ำตาลทรายแดง                           3        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊ว                                                3        ช้อนโต๊ะ ซอสปรุรส                                    ¼       ถ้วย เกลือเล็กน้อย ถั่วงอกและผักบุ้ง พริกน้ำส้มสำหรับปรุงรส วิธีทำ  บุบรากผักชี กระเทียม พริกไทย ข่าแก่ ต้มกับเนื้อที่หั่นชิ้นใหญ่ ต้มจนเดือด หรี่ไฟใช้ไฟอ่อน ใส่วิสกี้ ซอสปรุงรส ต้มจนเนื้อเปื่อยนุ่ม ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายแดง และเกลือเล็กน้อยจากนั้นลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว และผักใส่ชาม ใส่น้ำซุปที่ได้จากการต้มเนื้อ ใส่เนื้อที่ต้มจนเปื่อยนุ่ม เสิร์ฟร้อนๆ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

น้ำพริกกุ้งเสียบ

ความเป็นมา กุ้งเสียบเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งของคนใต้ที่มีพื้นที่ติดทะเลและมีกุ้งมาก โดยนำกุ้งนางไม่แกะเปลือกมาเสียบไม้ ปิ้งไฟอ่อนๆ รมควันจนน้ำในตัวกุ้งแห้ง ทำให้เก็บได้นานและมีกลิ่นหอมรมควัน นำมาทำอาหารได้หลากหลาย แต่ที่นิยมมากที่สุด คือ น้ำพริก ซึ่งรสชาติและส่วนผสมไม่ต่างจากน้ำพริกของภาคกลาง ที่มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน แต่ทางใต้จะนิยมกินรสเผ็ดจัดมากกว่า   คุณค่าทางโภชนาการ การรมควันหรือปิ้งไม่ทำให้โปรตีนในอาหารลดน้อยลง กุ้งเสียบจึงมีโปรตีนและยิ่งมีเปลือกจึงให้แคลเซียมสูงไปด้วย ส่วนผสมในน้ำพริก เช่น กระเทียม ช่วยลดคอเลสเตอรอล หอมแดงช่วยให้สดชื่น สิ่งสำคัญคือผักสดที่กินร่วมกันหรือที่คนใต้เรียกว่าถาดผักเหนาะ เพราะมีผักพื้นบ้านที่ให้วิตามิน และเบต้าแคโรทีนสูง เช่น ยอดมะม่วงหิมพานต์  ใบบัวบก ถั่วฝักยาว เป็นต้น   ส่วนผสม กุ้งเสียบคั่วกรอบ            1     ถ้วย หอมแดง                     30   กรัม กระเทียม                    20   กรัม กะปิย่างไฟ                   2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                    2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะนาว                     3     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาดี                       1     ช้อนชา พริกขี้หนู                     10   กรัม วิธีทำ   ตำกระเทียมและกะปิให้ละเอียด ใส่หอมแดง และพริกขี้หนู ตำให้ละเอียดดี ปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ และน้ำปลา จากนั้นใส่กุ้งเสียบ อาจจะคนหรือใช้สากบุบให้พอเข้ากัน ตักขึ้น เติมน้ำมะนาวคนให้เข้ากันอีกครั้ง


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire