SLider section

จำปาดะทอด

ภาค ใต้

  • recipe image cover

จำปาดะทอด

ความเป็นมา

จำปาดะเป็นผลไม้ท้องถิ่นของทางใต้ ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับขนุนแต่ลูกจะเล็กกว่า กลิ่นแรงกว่า เมื่อสุกเนื้อจะนิ่ม กลิ่นหอม และรสหวานจัด จำปาดะเป็นผลไม้ขึ้นชื่อของอำเภอเกาะยอ จังหวัดสตูล คนใต้นิยมนำมาชุบแป้งทอด ผิวนอกจะกรอบ เนื้อในนุ่มหวาน จัดเป็นของหวานรสอร่อยที่นิยมกันซึ่งหากินได้เฉพาะทางใต้เท่านั้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

จำปาดะเป็นผลไม้ที่เนื้อมีรสหวานกินแล้วรู้สึกสดชื่น มีวิตามินเอที่บำรุงสายตา เส้นใยของเนื้อจำปาดะจะช่วยขับไขมันออกจากร่างกายได้ จำปาดะชุบแป้งที่ใส่มะพร้าวขูดรวมไปด้วย เมื่อทอดแล้วจะได้ไขมันมากทั้งจากมะพร้าวและน้ำมันที่ใช้ทอด จึงควรกินพอประมาณเพราะอาจทำให้เจ็บคอและร้อนในได้

 

ส่วนผสม

จำปาดะ                            400    กรัม

แป้งข้าวเจ้า                        300    กรัม

น้ำตาลทราย                        1        ถ้วย

มะพร้าวขูด                          2        ถ้วย

น้ำสะอาด                            1 ½    ถ้วย

น้ำปูนใส                              2        ช้อนโต๊ะ

ไข่ไก่                                   2        ฟอง

งาขาวหรืองาดำ                   3        ช้อนโต๊ะ

เกลือ                                     1        ช้อนโต๊ะ

น้ำมันสำหรับทอด

วิธีทำ

ผสมแป้งข้าวเจ้ากับน้ำสะอาดพอเหนียว ใส่ไข่ไก่ น้ำตาลทราย มะพร้าวขูด เกลือ  งา น้ำปูนใส ผสมให้เข้ากัน นำจำปาดะลงชุบแป้ง แล้วทอดในน้ำมันร้อนท่วม จนสุกเหลือง ตักขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำมัน รับประทานร้อนๆ

 

 

ภาค อีสาน

ส้มตำลาว

ความเป็นมา ส้มตำลาว คือส้มตำสูตรดัดแปลงของชาวลาว ซึ่งแตกต่างออกไปในแต่ละท้องถิ่น นิยมใส่ปลาร้าและมะละกอดิบเป็นหลัก ที่เรียกว่าตำลาวนั้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนและแยกกันระหว่างตำลาวกับตำไทย เพราะแต่เดิมเรียกตำลาวว่า “ตำหมากหุ่ง”   คุณค่าทางโภชนาการ ส้มตำลาว มีวิตามินเกลือแร่จากผัก และเครื่องปรุงต่างๆ มะละกอช่วยย่อยโปรตีน ทำให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดี น้ำมะนาว มะเขือเทศ พริกขี้หนูมีวิตามินซีสูง กระเทียมไทย ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย และได้โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคอเลสเตอรอล   ส่วนผสม มะละกอสับเป็นเส้น              120    กรัม มะเขือเทศสีดา                    30      กรัม มะกอกสุก                             10      กรัม ถั่วฝักยาวหั่นเป็นท่อน          25      กรัม พริกขี้หนูสด                         8        เม็ด กระเทียม                              5        กรัม น้ำมะนาว                              1        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                  1/2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้าต้มสุก                   1        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ โขลกกระเทียม พริกขี้หนูในครกให้พอแหลก ตามด้วยถั่วฝักยาวโขลกพอแหลกปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำปลาร้า น้ำมะนาว โขลกเบา ๆ ใส่มะละกอ มะเขือเทศหั่นเป็นชิ้น ฝานมะกอกเป็นชิ้นบางใส่ลงโขลกเข้าด้วยกันชิมรสตามชอบ ตักใส่จานเสิร์ฟพร้อมผักสด


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

แกงพริกหอยแครงใบยี่หร่า

ความเป็นมา           คำว่า “แครง” หรือ “คราง” มาจากภาษาชวา – มลายู ที่ใช้เรียกหอยประเภทหอยแครงว่า “เคอรัง” หรือ “ครัง” จนในที่สุดเพี้ยนมาเป็น แครง หอยแครงมีมากตามชายฝั่งตื้นๆ ที่เป็นโคลน     หรือโคลนเหลวพบมากที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัตตานี ซึ่งชาวบ้านหาได้ไม่ยาก นำมาทำอาหารได้หลายชนิดทั้งลวกและแกง   คุณค่าทางโภชนาการ หอยแครงเป็นหอยที่มีโปรตีน ธาตุเหล็ก และฟอสฟอรัสสูง มีคุณสมบัติช่วยบำรุงเลือด บำรุงไขข้อ นำมาแกงกับน้ำพริกแกงใต้ที่มีรสเผ็ดร้อนช่วยให้ร่างกายสูบฉีดเลือดได้ดี และยังใส่ใบยี่หร่าที่มีรสร้อนแรง ช่วยบำรุงธาตุ ขับลม อีกด้วย   ส่วนผสม เนื้อหอยแครง            150    กรัม น้ำพริกแกงใต้            ¼       ถ้วย กะปิ                             2        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                        2        ช้อนโต๊ะ ใบยี่หร่า                      50      กรัม น้ำ                                2        ถ้วย วิธีทำ ผสมน้ำพริกแกงกับกะปิให้เข้ากัน ตั้งน้ำพอเดือดใส่พริกแกง พอเดือดใส่หอยแครง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำต้องขลุกขลิก ก่อนยกขึ้นใส่ใบยี่หร่า    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

ข้าวเหนียวมะม่วง

    ความเป็นมา ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นของหวานดั้งเดิมของไทยที่นำข้าวเหนียวมามูนกับน้ำกะทิ รสมันหวาน เค็ม กินกับมะม่วงสุกที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน เป็นรสชาติที่เข้ากันมาก มะม่วงที่กินกับข้าวเหนียวต้องแก่จัดและมีรสหวานจัดด้วยจึงจะอร่อย พันธุ์ที่นิยม เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง เป็นของหวานที่คนต่างชาตินิยมมาก   คุณค่าทางโภชนาการ มะม่วงสุกสีเหลืองสวยมีวิตามินซี เบต้าแคโรทีน และย่อยง่าย ข้าวเหนียวมูนที่มีกะทิเป็นส่วนผสมมีไขมันและพลังงานค่อนข้างสูง แต่กะทิในข้าวเหนียวมูนช่วยทำให้วิตามินเอและอีจากมะม่วงดูดซึมได้ดีขึ้น และเนื้อมะม่วงสุกช่วยชะลอให้น้ำตาลจากข้าวเหนียวดูดซึมช้าลง ข้าวเหนียวมูน 100 กรัม และมะม่วงสุกครึ่งลูกขนาดย่อมให้พลังงาน 350 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม ข้าวเหนียว                         4        ถ้วย กะทิคั้นข้น                         2        ถ้วย น้ำตาลทราย                       ¼       ถ้วย เกลือป่น                            2        ช้อนชา มะม่วงสุกหวาน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ มะม่วงอกร่อง   วิธีทำ แช่ข้าวเหนียวไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง นำไปนึ่งจนสุก ผสมกะทิ น้ำตาล เกลือ ตั้งไฟจนน้ำตาลละลายและเดือดทั่ว นำไปค่อยๆ เทใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งเสร็จร้อนๆ หรือมูนกับข้าวเหนียว หาฝาปิดไว้จนข้าวเหนียวระอุดี จัดใส่จานกินกับมะม่วงสุก        


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire