SLider section

ข้าวยำสงขลา

ภาค ใต้

  • recipe image cover

ข้าวยำสงขลา

ความเป็นมา

ข้าวยำเป็นอาหารจานเดียวของคนใต้ที่นำข้าวมากินกับผักสดพื้นบ้านนานาชนิด ซึ่งมีรสต่างๆ กัน  เช่น ผักรสจืด แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักรสเผ็ด เช่น ใบชะพลู สมุนไพร เช่น ตะไคร้

ใบมะกรูด ผักทุกอย่างต้องซอยให้บางเพื่อเคี้ยวได้อร่อย  และโรยด้วยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งตำ ราดด้วยน้ำบูดู ข้าวยำของแต่ละจังหวัดจะแตกต่างกันไปตามความนิยมและพืชผักพื้นบ้านที่หาได้ ถ้าเปรียบไปข้าวยำก็คล้ายกับสลัดของฝรั่ง

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ข้าวยำจัดเป็นอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ ไขมันต่ำ มีคาร์โบไฮเดรทจากข้าว ไขมันจากมะพร้าวคั่ว โปรตีนจากกุ้งแห้งและน้ำบูดูซึ่งทำจากปลาหมักที่นำมาปรุงรส ผักสดใบเขียวต่างๆ เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน วิตามิน และกากใยต่างๆ ที่ช่วยระบายท้อง และยังสามารถจัดเป็นอาหารลดน้ำหนักที่มีคุณค่าทางอาหาร และวิตามินครบถ้วนอีกด้วย

 

ส่วนผสม

ข้าวสวย                        1 ½ ถ้วย

ข้าวตังทอด                   1     ถ้วย

มะพร้าวคั่วเหลือง          4     ช้อนโต๊ะ

กุ้งแห้งป่น                     4     ช้อนโต๊ะ

น้ำบูดู                            ½    ถ้วย

พริกแห้งป่น

เหมือดหรือผักต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาวหั่นบางๆ ใบพาโหมหรือใบชะพลูหั่นฝอย ถั่วงอก (เด็ดหาง) แตงกวาหั่น ตะไคร้ซอยบาง เมล็ดกระถิน มะม่วงซอย หรือมะนาว เป็นต้น

วิธีทำ

ซอยผักทั้งหมดเป็นเส้นๆ หรือซอยหยาบแยกกันไว้ ตักข้าวหุงสุกใส่จาน เรียงผักรอบๆ ให้สวยงาม ตักน้ำบูดูที่ปรุงรสแล้วแยกใส่ถ้วยไว้ เมื่อจะรับประทานนำน้ำบูดูราดลงไปในข้า และคลุกส่วนผสมทั้งหมดรวมกันก่อนรับประทาน

 

 

ภาค กลาง

ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า

    ความเป็นมา ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าเป็นอาหารจานเดียวประเภทเส้นของคนจีนกวางตุ้ง ได้ข้ามาเป็นที่รู้จักในประเทศไทยในสมัยที่มีการอพยพเข้ามาของชาวจีนและคนจีนที่มีฝีมือทางด้านทำอาหารได้เปิดร้านเพื่อขายก๋วยเตี๋ยวราดหน้า เนื่องจากเป็นอาหารจานเดียวที่ทำได้ง่ายและเป็นที่นิยม จึงกลายเป็นที่แพร่หลายมาจนปัจจุบัน   คุณค่าทางโภชนาการ ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าจัดเป็นอาหารเส้นที่มีคุณค่าอาหารครบ 5 หมู่ เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้า ในปริมาณ 100 กรัมจะให้พลังงาน 220 กิโลแคลอรีเพราะเส้นจะมีน้ำมันเคลือบ ในขณะที่ข้าวหุงสุก 100 กรัมให้พลังงาน 110 กิโลแคลอรี ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดหน้าหมู 1 จานให้พลังงาน  397 กิโลแคลอรี   ส่วนผสม ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            120    กรัม เนื้อหมู                              50      กรัม ผักคะน้าหั่น                        50      กรัม เต้าเจี้ยว                              2        ช้อนโต๊ะ ซีอิ๊ว                                    1        ช้อนชา น้ำซุป                                   1        ถ้วย แป้งมันสำปะหลัง                 2        ช้อนโต๊ะ (ผสมน้ำเล็กน้อย) น้ำมันสำหรับผัด                  2        ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ตั้งกระทะใส่น้ำมันเล็กน้อยพอเคลือบกระทะ พอร้อนใส่เส้นลงไปผัดให้เส้นกระจายและไม่ให้ติดกัน ใส่ซีอิ๊วเล็กน้อย ผัดจนหอม ตักขึ้นใส่จานผัดหมูกับน้ำมัน พอสุกใส่ผักคะน้า เติมน้ำซุปเล็กน้อย ใส่เต้าเจี้ยว รอจนเดือด เติมแป้งมันสำปะหลังให้พอเหนียว ตักราดเส้นที่ผัดไว้ เสิร์ฟ    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

แกงจืดเต้าหู้หมูสับตำลึง

    ความเป็นมา แกงจืดจัดเป็นซุปในสำรับอาหารจีนที่จะต้องมีไว้เพื่อกินอาหารได้คล่องคอ หรือกินกับข้าวอื่นในสำรับได้อร่อยขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้ร่างกายอบอุ่น แกงจืดนี้เป็นแกงจืดง่ายๆ ที่ใช้หมูสับปรุงรสให้น้ำซุปหวาน ใช้เต้าหู้ของจีนและตำลึงผักริมรั้วหาง่ายมาต้มรวมกัน จนเป็นแกงจืดยอดนิยมที่คนมักจะสั่งกันทุกร้าน   คุณค่าทางโภชนาการ แกงจืดตำลึงหมูสับได้โปรตีนจากทั้งเนื้อสัตว์คือเนื้อหมู และโปรตีนจากพืชคือถั่วเหลืองที่ใช้ทำเต้าหู้ จึงได้โปรตีนจากทั้ง 2 แหล่ง และใบตำลึงผักใบเขียวที่มีเบตาแคโรทีนสูง ช่วยบำรุงสายตา และซุปร้อนๆ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น   ส่วนผสม ใบตำลึง                                  50      กรัม เต้าหู้หลอด หั่นเป็นชิ้น           120    กรัม หมูสับ                                      60      กรัม น้ำซุป                                        2        ถ้วย ซีอิ๊ว น้ำปลา สำหรับปรุงรส พริกไทยป่นสำหรับโรยหน้า วิธีทำ ตั้งน้ำซุปพอเดือด ปรุงรสหมูสับด้วยซีอิ๊ว ปั้นเป็นก้อนใส่ลงไปต้มจนสุก รอจนเดือดอีกครั้งใส่เต้าหู้ ใบตำลึง ปรุงรสด้วยน้ำปลาเมื่อเดือดอีกครั้ง ตักใส่ชาม โรยพริกไทย    


เพิ่มเติม

ภาค กลาง

พะแนงเนื้อ

ความเป็นมา พะแนงเป็นแกงกะทิน้ำขลุกขลิกที่ต้องมีรสหวานนำ ตามด้วยรสเค็ม และมักจะไม่เผ็ดมาก หอมกลิ่นใบมะกรูด แม้ว่าน้ำพริกแกงจะคล้ายกับน้ำพริกแกงเผ็ดแต่น้ำแกงจะข้นกว่า เพราะใส่ถั่วลิสงเพิ่ม มีส่วนคล้ายกับแกงเนื้อของอินโดนีเซียที่มีชื่อเสียง คือ “เรนดัง” แต่หั่นเนื้อชิ้นใหญ่ สันนิษฐานว่า แกงพะแนงได้รับอิทธิพลมาจากจากชวาครั้งสมเด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ต้นห้องได้นำมาดัดแปลงและหั่นเนื้อให้เป็นชิ้นเล็กพอดีคำ   คุณค่าทางโภชนาการ จานนี้ให้โปรตีนและไขมันสูงมากทั้งจากเนื้อวัวและกะทิ  และมีสมุนไพรสดจากเครื่องพริกแกงที่มีสรรพคุณช่วยย่อย แก้ท้องอืด หอมแดง กระเทียมในน้ำพริกแกงช่วยลดคอเลสเตอรอล และพะแนงยังเป็นกับข้าวรสจัดจึงมักกินกับข้าว ทำให้ปริมาณเหมาะสมไปโดยปริยาย   ส่วนผสม กะทิ                                         2     ถ้วย เนื้อหั่นบาง                                300 กรัม น้ำพริกแกงแดง                          ½    ถ้วย ถั่วลิสงคั่ว                                  2     ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำตาลปี๊บ                                 1     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูด                                  5     กรัม วิธีทำ ปั่นน้ำพริกแกงแดงกับถั่วลิสงคั่วให้ละเอียด จากนั้นนำไปผัดกับกะทิให้มีกลิ่นหอม ใส่เนื้อลงไปผัดให้พอสุก เติมกะทิที่เหลือ ปรุงรสด้วยน้ำปลา และน้ำตาลปี๊บ ใส่ใบมะกรูดฉีก คนให้เข้ากันและน้ำแกงงวดลงเล็กน้อยตักเสิร์ฟ โรยใบมะกรูดซอยตกแต่ง และราดกะทิข้นเล็กน้อยให้สวยงาม


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire