SLider section

ขนมจีนซาวน้ำ

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ขนมจีนซาวน้ำ

ความเป็นมา

ขนมจีน มาจากภาษามอญว่า “คะนอม” คำว่า จีน มีความหมายว่า สุก จึงสันนิษฐานว่าไทยรับการทำขนมจีนมาจากชาวมอญตั้งแต่โบราณ และเข้ามาในราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ 4 ขนมจีนซาวน้ำนี้น่าจะเป็นจานที่คนภาคกลาง คิดสร้างสรรค์ขึ้นในฤดูร้อนที่ต้องการกินอะไรเย็นๆ รสหวาน ๆ เปรี้ยวๆ แก้ร้อน ขนมจีนซาวน้ำอาจเปรียบได้กับสลัดเย็นของฝรั่ง จัดเป็นอาหารสุขภาพของไทยได้อีกจานหนึ่ง

 

คุณค่าโภชนาการ

แม้ว่าขนมจีนทำมาจากแป้งข้าวเจ้า แต่มีส่วนของน้ำมาก ขนมจีน 1 จับ (ประมาณ 72 กรัม) ให้พลังงานเพียง 80 กิโลแคลอรี นอกจากนี้ยังมีสับปะรด กับน้ำมะนาวที่ให้วิตามินซี เมื่อกินแล้วจะรู้สึกสดชื่น มีขิงที่ช่วยขับลม กุ้งแห้งให้โปรตีน และกระเทียมที่ช่วยลดคอเรสเตอรอล จัดเป็นอาหารจานสมดุลที่ไม่ทำให้อ้วนและเหมาะกับคนที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก

 

ส่วนผสม

ขนมจีน                                     300 กรัม

สับปะรดเนื้อฉ่ำหั่นฝอย                1     ถ้วย

กุ้งแห้งตำ                                  ½    ถ้วย

ขิงอ่อนหั่นฝอย                          40   กรัม

กระเทียมซอยบาง                       2     ช้อนโต๊ะ

น้ำปลา                                     3     ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทราย                              3     ช้อนโต๊ะ

หัวกะทิ                                     ½    ถ้วย

เกลือเล็กน้อย

วิธีทำ

ผสมน้ำตาลทราย น้ำปลา ในหม้อนำขึ้นตั้งไฟอ่อน ใส่กระเทียมซอยบางลงไปตั้งให้เริ่มเดือด ยกลงพักไว้ให้เย็น จากนั้นเคี่ยวหัวกะทิกับเกลือให้งวดลงพักไว้ให้เย็น จัดขนมจีนลงในจาน ราดด้วยน้ำปรุงรส ใส่กุ้งแห้ง สับปะรด ขิงอ่อน ราดหน้าด้วยกะทิเล็กน้อย จัดเสิร์ฟ

ภาค กลาง

ไข่ลูกเขย

ความเป็นมา ไข่ลูกเขยเป็นอาหารที่คนไทยประยุกต์ขึ้น เพื่อหาวิธีกินไข่ต้มให้ได้รสอร่อยอย่างที่ตนเองชอบและคุ้นเคย คือ รสเปรี้ยวหวาน จึงผัดน้ำมะขามเปียกกับน้ำตาลปี๊บ คล้ายกับซอสของฝรั่งแล้วนำไปราดหน้าไข่ต้มที่นำไปทอดให้เปลือกนอกเป็นสีน้ำตาล และโรยหน้าด้วยหอมเจียวเพื่อให้มีกลิ่นหอม   คุณค่าทางโภชนาการ ไข่เป็นแหล่งโปรตีนที่หาง่าย ราคาถูก มีวิตามินและแร่ธาตุมากมาย ที่สำคัญคือ วิตามินบี 12 ซึ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของระบบประสาท ในไข่แดงยังมีไขมันเลซิธินซึ่งทำหน้าที่ขนถ่ายคอเลสเตอรอลในเลือด และจำเป็นต่อกระบวนการเผาผลาญไขมัน และยังเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์สมองและใยประสาท ไข่ 1 ฟอง (50 กรัม) โดยทั่วไปมีโปรตีน 6.5 กรัม ไขมัน 6 กรัม และคอเลสเตอรอล 180-250 มิลลิกรัม   ส่วนผสม ไข่ต้มสุกแกะเปลือกออก              6     ลูก น้ำตาลปี๊บ                                 ½    ถ้วย น้ำปลา                                     2     ช้อนโต๊ะ น้ำมะขามเปียก                           2     ช้อนโต๊ะ น้ำ                                           2     ช้อนโต๊ะ หอมเจียว                                  2     ช้อนโต๊ะ ผักชี พริกชี้ฟ้า สำหรับโรยหน้า วิธีทำ ตั้งน้ำมันบนไฟกลางให้เริ่มร้อน นำไข่ต้มลงไปทอดให้เปลือกเป็นสีเหลืองสวย ตักขึ้นผ่าเป็น 2 ซีก พักไว้ ตั้งกระทะอีกใบเคี่ยวน้ำตาลปี๊บ น้ำปลา น้ำมะขามเปียก และน้ำสะอาด ให้เข้ากันและข้นขึ้น ใส่หอมเจียวครึ่งหนึ่งลงไปในน้ำซอส คนให้พอเข้ากัน จากนั้นนำไปราดบนไข่ โรยด้วยหอมเจียว ผักชี และพริกชี้ฟ้าหรือพริกแห้งทอด


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

ข้าวยำสงขลา

ความเป็นมา ข้าวยำเป็นอาหารจานเดียวของคนใต้ที่นำข้าวมากินกับผักสดพื้นบ้านนานาชนิด ซึ่งมีรสต่างๆ กัน  เช่น ผักรสจืด แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักรสเผ็ด เช่น ใบชะพลู สมุนไพร เช่น ตะไคร้ ใบมะกรูด ผักทุกอย่างต้องซอยให้บางเพื่อเคี้ยวได้อร่อย  และโรยด้วยมะพร้าวคั่ว กุ้งแห้งตำ ราดด้วยน้ำบูดู ข้าวยำของแต่ละจังหวัดจะแตกต่างกันไปตามความนิยมและพืชผักพื้นบ้านที่หาได้ ถ้าเปรียบไปข้าวยำก็คล้ายกับสลัดของฝรั่ง   คุณค่าทางโภชนาการ ข้าวยำจัดเป็นอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ ไขมันต่ำ มีคาร์โบไฮเดรทจากข้าว ไขมันจากมะพร้าวคั่ว โปรตีนจากกุ้งแห้งและน้ำบูดูซึ่งทำจากปลาหมักที่นำมาปรุงรส ผักสดใบเขียวต่างๆ เป็นแหล่งของเบต้าแคโรทีน วิตามิน และกากใยต่างๆ ที่ช่วยระบายท้อง และยังสามารถจัดเป็นอาหารลดน้ำหนักที่มีคุณค่าทางอาหาร และวิตามินครบถ้วนอีกด้วย   ส่วนผสม ข้าวสวย                        1 ½ ถ้วย ข้าวตังทอด                   1     ถ้วย มะพร้าวคั่วเหลือง          4     ช้อนโต๊ะ กุ้งแห้งป่น                     4     ช้อนโต๊ะ น้ำบูดู                            ½    ถ้วย พริกแห้งป่น เหมือดหรือผักต่างๆ เช่น ถั่วฝักยาวหั่นบางๆ ใบพาโหมหรือใบชะพลูหั่นฝอย ถั่วงอก (เด็ดหาง) แตงกวาหั่น ตะไคร้ซอยบาง เมล็ดกระถิน มะม่วงซอย หรือมะนาว เป็นต้น วิธีทำ ซอยผักทั้งหมดเป็นเส้นๆ หรือซอยหยาบแยกกันไว้ ตักข้าวหุงสุกใส่จาน เรียงผักรอบๆ ให้สวยงาม ตักน้ำบูดูที่ปรุงรสแล้วแยกใส่ถ้วยไว้ เมื่อจะรับประทานนำน้ำบูดูราดลงไปในข้า และคลุกส่วนผสมทั้งหมดรวมกันก่อนรับประทาน    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แกงขนุน

ความเป็นมา แกงขนุน หรือ แกงบ่าหนุน แต่ก่อนนิยมทำในงานบุญ เพราะชื่อที่เป็นมงคล หมายความไปถึงการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน   คุณค่าทางโภชนาการ ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากโปรตีน ไขมัน และกากใยอาหาร อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย   ส่วนผสม ซี่โครงหมูอ่อนหั่นท่อน                     300    กรัม ขนุนอ่อนหั่นชิ้น                                500    กรัม มะเขือส้มบุบพอแตก                        200    กรัม ชะอมเด็ด                                           50      กรัม น้ำปลา                                                3       ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                                           5      ถ้วยตวง ส่วนผสมพริกแกง พริกแห้งเม็ดใหญ่                           8        เม็ด เกลือป่น                                          1        ช้อนชา ข่าหั่นละเอียด                                1        ช้อนโต๊ะ กระเทียมซอย                                3        ช้อนโต๊ะ หอมแดงซอย                                 4        ช้อนโต๊ะ ปลาร้าสับ                                       1        ช้อนโต๊ะ วิธีทำ ตำหรือปั่นส่วนผสมพริกแกงให้ละเอียด พักไว้ เติมน้ำสะอาดในหม้อขึ้นตั้งไฟกลาง  ใส่ซี่โครงหมูอ่อนลงไปต้มจนสุก ใส่พริกแกงลงไปละลายให้เข้ากัน ต้มต่อจนน้ำเดือดอีกครั้ง ใส่ขนุน มะเขือส้ม ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมรส ก่อนเสิร์ฟให้เร่งไฟแรง ใส่ชะอม ต้มพอให้ชะอมสลด ตักขึ้นเสิร์ฟร้อนๆ


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire