SLider section

ขนมกล้วย

ภาค เหนือ

  • recipe image cover

ขนมกล้วย

 

 

ความเป็นมา

ขนมกล้วย หรือเข้าหนมกล้วย เป็นขนมซึ่งชาวล้านนานิยมทำรับประทาน โดยใช้แป้งข้าวเจ้าและกล้วยน้ำว้าเป็นส่วนผสมหลัก

 

คุณค่าทางโภชนาการ

กล้วยน้ำว้าช่วยแก้โรคกระเพาะได้ดีเนื่องจากมีสารแทนนิน ซึ่งมีฤทธิ์ในการเคลือบรักษากระเพาะและลำไส้ป้องกันการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ในการช่วยลดกรดในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดี

 

ส่วนผสม

กล้วยน้ำว้าสุก           500    กรัม

น้ำตาลทราย             500    กรัม

แป้งข้าวเจ้า              300    กรัม

แป้งมัน                      100    กรัม

มะพร้าวขูด                 1        ถ้วย

กะทิ                             3        ถ้วย

เกลือป่น                      1        ช้อนชา

 

วิธีทำ

นำกล้วยน้ำว้า แป้งข้าวเจ้า กะทิ ใส่ลงในอ่างผสม ขยำกล้วยให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่น้ำตาลทราย แล้วนวดให้เข้ากันจนน้ำตาลละลายฉีกใบตอง ทำเป็นกรวย แล้วใช้ไม้กลัด กลัดใบตองตักส่วนผสมใส่ลงในกรวยให้เต็ม วางกรวยขนมในรูของลังถึง โรยมะพร้าวขูด นึ่งไฟกลาง ประมาณ 20 นาที

 

 

ภาค อีสาน

ซุปขนุน

ความเป็นมา ขนุนเมื่อสุกแล้วจัดเป็นผลไม้รสหวาน ใช้ใส่ในขนมไทยหลากหลายประเภทแต่ขนุนอ่อนนั้นจัดเป็นผักเครื่องเคียงชนิดหนึ่ง นิยมนำมาลวกกินกับน้ำพริก ชาวอีสานนำมาดัดแปลงให้กลายเป็นยำเพื่อเพิ่มรสชาติให้ถูกปากมากยิ่งขึ้น   คุณค่าทางโภชนาการ ขนุนอ่อน เป็นผักที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ทั้งแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีเมื่อนำมาปรุงเป็นตำขนุน ทำให้ร่างกายได้รับประโยชน์จากพลังงาน โปรตีน ไขมัน กากใยอาหาร แคลเซียม โซเดียม โพแทสเซียม อย่างครบถ้วน นอกจากนี้ยังให้สารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูงอีกด้วย   ส่วนผสม ขนุนอ่อน                      300    กรัม ข้าวคั่ว                         3        ช้อนโต๊ะ พริกป่น                        3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลาร้า                     3        ช้อนโต๊ะ น้ำปลา                         3        ช้อนโต๊ะ ต้นหอมหั่น                    2        ช้อนโต๊ะ ใบสะระแหน่                  10      กรัม งาคั่ว                             ½       ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ นำขนุนอ่อนไปต้มจนสุกนุ่ม ตัดส่วนไส้กลางออกนำไปโขลกให้ละเอียด เติมข้าวคั่ว พริกป่น น้ำปลาร้า โขลกพอเข้ากันชิมรส ให้มีรสเค็มมันนำตักใส่ภาชนะ โรยหน้าด้วยต้นหอม ใบสะระแหน่ งาคั่ว จัดเสิร์ฟพร้อมผักสด    


เพิ่มเติม

ภาค อีสาน

ปลาร้าสับทรงเครื่อง

ความเป็นมา ปลาร้าเป็นการถนอมอาหารที่นิยมของทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงหลักในส่วนผสมของอาหารเกือบทุกชนิด ปลาร้าสับทรงเครื่องเป็นอีกเมนูหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายซึ่งเป็นเมนูที่มีวิธีการทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก   คุณค่าทางโภชนาการ โปรตีนจากปลาร้า ช่วยป้องกันการสะสมตัวของไขมันอิ่มตัวหรือคลอเลสเตอรอล น้ำมะนาวมีวิตามินซีสูงข่า ตะไคร้ ใบมะกรูดช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม บำรุงร่างกาย และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี   ส่วนผสม ปลาร้า(ใช้เฉพาะเนื้อ)                1        ถ้วย พริกขี้หนู                                  8        กรัม ตะไคร้หั่นฝอย                          6        ช้อนโต๊ะ ข่าอ่อนสับ                                2        ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดหั่นฝอย                      2        ช้อนโต๊ะ กระชายสับ                               2        ช้อนโต๊ะ หอมแดงสับ                              7        ช้อนโต๊ะ กระเทียมสับ                             7        ช้อนโต๊ะ น้ำมะขาม น้ำตาล   วิธีทำ ตำพริก ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด กระชาย หอมแดง กระเทียม ให้ละเอียด จากนั้นใส่เนื้อปลาร้าสับแล้ว ปรุงรสด้วยน้ำตาล และน้ำมะขามเปียก คลุกให้เข้ากัน เสิร์ฟคู่ผักสด    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

มะม่วงเบาแช่อิ่ม

  ความเป็นมา มะม่วงเบาเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองของทางใต้ ผลมีขนาดเล็กเท่ากับไข่ไก่ใบเล็ก เมื่อดิบรสจะเปรี้ยวจี๊ด เนื้อกรอบ ไม่มีกลิ่นฉุน คนใต้นิยมนำไปทำอาหารให้รสเปรี้ยวหลากหลาย เช่น นำไปตำน้ำพริกเป็นน้ำพริกมะม่วงเบา แต่ที่นิยมมากที่สุดคือนำไปแช่อิ่ม   คุณค่าทางโภชนาการ มะม่วงเบามีรสเปรี้ยวเป็นแหล่งของวิตามินซีที่ช่วยป้องกันโรคหวัดได้อย่างดี ช่วยสร้างสารคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่ทำให้เส้นผม ฟัน เหงือก และกระดูกสมบูรณ์แข็งแรง เมนูนี้นำมาแช่อิ่ม โดยใส่ในน้ำเชื่อมเพื่อให้ซึมเข้าเนื้อ มะม่วงจึงมีรสเปรี้ยวๆ หวานๆ กินแล้วช่วยให้สดชื่นมาก แต่ถ้ากินมากไปจะได้รับน้ำตาลเกินความจำเป็นที่จะทำให้ให้อ้วนได้   ส่วนผสม มะม่วงเบา                         50      ผล น้ำปูนใส                            1        ถ้วย เกลือ                                ½       ถ้วย น้ำตาลทราย                       1        กก. น้ำสะอาด                          3        ถ้วย วิธีทำ ปอกเปลือกมะม่วง ผ่าลูกละ 2-4 ชิ้น แช่ในน้ำสะอาดให้มะม่วงจม ใส่น้ำปูนใส ใส่เกลือ แช่ทิ้งไว้ 2 คืน คนให้ทั่ววันละ 2-3 ครั้งตักมะม่วงขึ้นพักไว้ ใส่ภาชนะที่มีฝาปิดทำน้ำเชื่อมโดยผสมน้ำตาลกับน้ำใส่เกลือ ตั้งไฟจนข้น พักไว้ให้เย็น เทใส่ในมะม่วงปิดฝาพักไว้ 2 คืน นำมาคนวันละ 2 ครั้ง ชิมดูจะมีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน นำเข้าตู้เย็น มะม่วงจะ กรอบอร่อยขึ้น    


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire