SLider section

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น

ภาค กลาง

  • recipe image cover

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋น

ความเป็นมา

อาหารจานเดียวประเภทต้มตุ๋นของจีน ที่นำเนื้อวัวมาต้มและตุ๋นใส่เครื่องเทศเพื่อกลบกลิ่นเนื้อและทำให้มีกลิ่นหอมชวนกิน ความหวานอร่อยของน้ำซุปมาจากเนื้อ และซีอิ๊วหรือซอสปรุงรส ถ้าได้ซีอิ๊วที่ดี มีกลิ่นหอมก็จะทำให้เนื้อตุ๋นชวนกินมากยิ่งขึ้น

 

คุณค่าทางโภชนาการ

ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นจัดเป็นอาหารจานเดียวครบหมู่ ซึ่งใส่ถั่วงอก และผักบุ้งลงไปด้วย เส้นก๋วยเตี๋ยวทำจากแป้งข้าวเจ้าจะใส่ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ เส้นเล็ก เส้นหมี่ก็ได้ตามชอบ เนื้อวัวให้สารอาหารต่างๆ รวมทั้งแร่ธาตุที่มีประโยชน์โดยเฉพาะธาตุเหล็กและสังกะสี จานนี้ถ้ากินในฤดูหนาวน้ำซุปอุ่นๆ จะช่วยให้ร่างกายอบอุ่นไปด้วย

 

ส่วนผสม

เส้นก๋วยเตี๋ยว                                500    กรัม

เนื้อส่วนท้องหรือเนื้อติดเอ็น          1        กก.

รากผักชี                                     40      กรัม

กระเทียม                                    30      กรัม

พริกไทย                                     2        ช้อนโต๊ะ

ข่าแก่บุบ                                     30      กรัม

วิสกี้                                              3        ช้อนโต๊ะ

น้ำตาลทรายแดง                           3        ช้อนโต๊ะ

ซีอิ๊ว                                                3        ช้อนโต๊ะ

ซอสปรุรส                                    ¼       ถ้วย

เกลือเล็กน้อย

ถั่วงอกและผักบุ้ง

พริกน้ำส้มสำหรับปรุงรส

วิธีทำ 

บุบรากผักชี กระเทียม พริกไทย ข่าแก่ ต้มกับเนื้อที่หั่นชิ้นใหญ่ ต้มจนเดือด หรี่ไฟใช้ไฟอ่อน ใส่วิสกี้ ซอสปรุงรส ต้มจนเนื้อเปื่อยนุ่ม ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายแดง และเกลือเล็กน้อยจากนั้นลวกเส้นก๋วยเตี๋ยว และผักใส่ชาม ใส่น้ำซุปที่ได้จากการต้มเนื้อ ใส่เนื้อที่ต้มจนเปื่อยนุ่ม เสิร์ฟร้อนๆ

 

 

ภาค กลาง

ตะโก้

    ความเป็นมา ตะโก้เป็นขนมไทยที่ใช้แป้งข้าวเจ้า และแป้งถั่วเขียว มาผสมน้ำตาล และน้ำลอยดอกมะลิ ที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์หอมชื่นใจ กวนรวมกันให้มีเนื้อสัมผัสนุ่มหนึบ และราดหน้าด้วยหัวกะทิรสเค็มมัน เนื้อสัมผัสนุ่มเนียนเหมือนวิปครีมของฝรั่ง ตะโก้จึงเป็นขนมยอดนิยมที่ขายดีในต่างประเทศ   คุณค่าทางโภชนาการ น้ำตาลซึ่งเป็นส่วนผสมหลักและรสชาติโดดเด่นในขนมหวาน จัดเป็นคาร์โบไฮเดรทเช่นเดียวกับแป้ง ในกระบวนการย่อยอาหารน้ำตาลต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นกลูโคส ตะโก้มีส่วนผสมของกะทิที่หยอดหน้า ซึ่งมีไขมันอิ่มตัว แม้ว่าจะเป็นขนมชิ้นเล็กแต่ก็ไม่ควรกินมาก เกินไป นักโภชนาการแนะนำว่าวันหนึ่งไม่ควรกินน้ำตาลเกิน 6-8 ช้อนชา   ส่วนผสม แป้งข้าวเจ้า                                          1        ถ้วย แป้งมันสำปะหลัง                                 ½       ถ้วย แป้งถั่ว                                                  ¼       ถ้วย น้ำลอยดอกมะลิ                                    4        ถ้วย แห้ว /เผือกนึ่ง/ เม็ดบัวนึ่งหั่นชิ้นเล็ก    1        ถ้วย   ส่วนผสมน้ำเชื่อม น้ำ 1 ถ้วย น้ำตาลทราย 2 ถ้วย ส่วนผสมกะทิราดหน้า หัวกะทิ 1 ½ ถ้วย แป้งข้าวเจ้า ¾ ถ้วย เกลือ 1 ½ ช้อนชา ผสมรวมกัน ตั้งไฟจนข้น   วิธีทำ ผสมแป้งทั้ง 3 ชนิด นวดกับน้ำลอยดอกมะลิ โดยค่อยๆ ใส่น้ำทีละน้อยจนหมด นำไปตั้งไฟกวน  ค่อยๆ เติมน้ำเชื่อมไปเรื่อยๆ จนแป้งสุก ใส่แห้วจีน กวนจนข้นเหนียว ตักใส่กระทงและหยอดหน้ากะทิ    


เพิ่มเติม

ภาค ใต้

คั่วกลิ้งหมู

ความเป็นมา คั่วกลิ้งเป็นอาหารใต้อีกจานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้อย่างชัดเจน เพราะมีรสเผ็ดร้อนของพริกแกงที่มีทั้งพริกสด พริกแห้ง และสมุนไพรเด่นชัด เมื่อนำไปผัดยังต้องใส่สมุนไพรซอย เช่น ตะไคร้ ข่า ใบมะกรูด เพิ่มลงไป สีเหลืองจัดเพราะใส่ขมิ้น รสชาติทั้งเผ็ดทั้งร้อน จัดจ้าน และเมื่อเห็นร้านอาหารไหนขายคั่วกลิ้งจะรู้ทันทีว่าเป็นอาหารภาคใดไม่ได้นอกจากอาหารใต้เท่านั้น   คุณค่าทางโภชนาการ สีเหลืองเด่นของคั่วกลิ้งที่เคลือบหมูสับหรือไก่สับและสมุนไพรต่างๆ เป็นสีของขมิ้น สารสีเหลืองในขมิ้นนี้คือ “เคอร์คูมิน” ที่มีฤทธิ์เป็นกรดซึ่งมีสรรพคุณเป็นยา ช่วยรักษาแก้ท้องอืดท้องเสีย ปัจจุบันยังค้นพบว่าช่วยป้องกันไม่ให้ตับถูกทำลายจากสารพิษ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อกินขมิ้นพร้อมกับอาหารจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ และยังช่วยทำลายไวรัสที่ปนเปื้อนมากับอาหารได้  คั่วกลิ้งจึงจัดเป็น “อาหารเป็นยา” อย่างแท้จริง   ส่วนผสมพริกแกง พริกขี้หนูแห้ง 20 เม็ด ข่าหั่นแว่น 20 กรัม พริกไทยดำเม็ด 1 ช้อนโต๊ะ ขมิ้นยาว 2 นิ้ว  ตะไคร้ซอย  50 กรัม หอมแดง 40 กรัม กระเทียม 10 กรัม ผิวมะกรูด ½ ลูก กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1 ช้อนชา  ตำส่วนผสมพริกแกงทุกกอย่างรวมกันจนละเอียด   ส่วนผสม เนื้อหมูสับหยาบ            500 กรัม พริกแกง                      1/2  ถ้วย ตะไคร้ซอย                   30   กรัม ข่าสับหยาบ                  3     ช้อนโต๊ะ ใบมะกรูดซอย               ¼    ถ้วย น้ำมัน                           2     ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด                     1     ถ้วย น้ำตาลทราย                 1     ช้อนโต๊ะ   วิธีทำ ผัดเครื่องแกงกับน้ำมันจนหอม ใส่หมูลงผัดให้เข้ากัน ค่อยๆ เติมน้ำเปล่าทีละน้อย ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล ใส่ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ใช้ไฟอ่อนคั่วไปเรื่อยๆ จนเนื้อหมูสุกแห้ง    


เพิ่มเติม

ภาค เหนือ

แอบปลา

    ความเป็นมา แอบปลา คืออาหารที่นำปลาสดมาคลุกเคล้ากับเครื่องปรุง แล้วห่อด้วยใบตอง นำไปปิ้งหรือย่าง ด้วยไฟอ่อนๆ จนข้างในสุก   คุณค่าทางโภชนาการ เนื้อปลา มีโปรตีนที่ย่อยง่าย ผิวมะกรูดช่วยขับลมในลำไส้ แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด แน่นท้องได้ ขมิ้นช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ตะไคร้แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ กระเทียมช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกายช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย   ส่วนผสม เนื้อปลาหั่นชิ้น                    ½       กิโลกรัม ผิวมะกรูด หั่นละเอียด           1        ช้อนชา หอมแดง                          80      กรัม กระเทียม                          40      กรัม ตะไคร้                              80      กรัม กะปิ                                   1        ช้อนชา ขมิ้น หั่นละเอียด               1        ช้อนโต๊ะ พริกขี้หนู                           15      กรัม น้ำปลา                              1        ช้อนชา เกลือ                                 1        ช้อนชา ใบตอง ไม้กลัด   วิธีทำ โขลกรากผักชี ผิวมะกรูด ขมิ้นให้ละเอียด ใส่ตะไคร้ พริกขี้หนู หอมแดง กระเทียม กะปิ และเกลือ โขลกต่อพอแหลก นำไปคลุกกับเนื้อปลาที่หั่นไว้ซอยต้นหอมและผักชี ใส่น้ำปลาคลุกเคล้าให้เข้ากันห่อใบตองให้แน่น ใช้ไม้กลัดเสียบไว้ นำไปปิ้งบนไฟอ่อนจนสุก      


เพิ่มเติม

close[x]
Questionnaire